สวัสดีค่ะ  พบกับโฉมใหม่  
ของการสื่อสารการพัฒนาระบบ
ราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงาน ก.พ.ร.
      เรายังคงนำเรื่องราวต่าง ๆ
ที่เปิด Trend ใหม่ ๆ อันเกี่ยว
กับการพัฒนาระบบราชการ เช่น
เคย โดยไม่ได้มองมิติด้านใด
ด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
ซึ่งยังคงเป็นแบบฉบับสำคัญที่
เรากำลังดำเนินอยู่ต่อไปอย่าง
เข้มข้ม สาระ ต่าง ๆ พร้อมอยู่
บนหน้าจอท่านแล้วค่ะ

 
e-news ย้อนหลัง

มติคณะรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.

 
การประชุมคณะรัฐมนตรี   ณ  เฮือนวารีกุญชร เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้พิจารณาเรื่องที่ เกี่ยวข้องสำนักงาน ก.พ.ร.ดังนี้

เรื่องที่ 23

การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

       
      คณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง  การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณตาม ที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้

1. ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)พิจารณาเรื่องที่ส่วนราชการและ รัฐวิสาหกิจ ขออนุมัติขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2547 – 2548 ตามเกณฑ์
การพิจารณาดังนี้


                                                 

การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2547 – 2548 กรณีที่ส่วนราชการและ รัฐวิสาหกิจ เจ้าของงบประมาณยังไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน และได้มีหนังสือขอขยายเวลา เบิกจ่ายเงินมายังกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)  ภายในวันทำการสุดท้ายของ เดือนธันวาคม 2548 อย่างเข้มงวด      โดยจะไม่อนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน
งบประมาณปี พ.ศ. 2547 และ  2548 ที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ   ยังไม่สามารถ ก่อหนี้ผูกพัน ได้ทันภายในเดือนธันวาคม 2548 เว้นแต่เป็นงบประมาณที่อยู่ใน เกณฑ์การพิจารณาดังตาราง   ซึ่งจะผ่อนผันให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินกรณีไม่มีผูกพัน
สิ้นเดือนมีนาคม 2549 เกณฑ์การพิจารณา กรณีไม่มีหนี้ผูกพันให้พับไป


                                               


ยกเว้น รายการต่อไปนี้ให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินต่อไปได้ถึงสิ้นเดือน มีนาคม 2549

เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2547
เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2548
(1) รายการหรือโครงการที่อยู่ระหว่าง กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
(1) รายการหรือโครงการที่อยู่ระหว่าง
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
(2) รายการหรือโครงการที่ได้รับการจัด สรรเงินงบประมาณในลักษณะงานดำเนิน การเอง

(2) รายการหรือโครงการที่ได้รับการจัด สรรเงิน งบประมาณในลักษณะงาน ดำเนินการเอง
(3) รายการหรือโครงการที่คณะรัฐมนตรี ีมีมติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และหรือ ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน ทั้งนี้ ระยะเวลา สิ้นสุดการกันเงินฯ และหรือขยายเวลาฯ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
(3) รายการหรือโครงการที่คณะรัฐมนตรี มีมติ ให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และหรือขยายเวลา เบิกจ่ายเงิน ทั้งนี้ระยะเวลาสิ้นสุดการกันเงินฯ  และหรือขยายเวลาฯ ให้เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี
(4) รายการหรือโครงการที่คณะรัฐมนตรีให้ ความเห็นชอบและมีมติให้ดำเนินการแล้ว
(4) รายการหรือโครงการที่คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบและมีมติให้ดำเนินการแล้ว
  (5) รายการหรือโครงการที่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี พ.ศ. 2548
       ทั้งนี้ หากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถดำเนินการหรือเบิกจ่ายเงิน ให้เสร็จสิ้นได้ทัน ภายใน สิ้นเดือนมีนาคม 2549    ก็ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวง การคลังเพื่อขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินเป็น กรณี ๆ ไป
 
2.  ให้สำนักงบประมาณนำผลการพิจารณาของกระทรวงการคลัง   (กรมบัญชีกลาง) ไปใช้ในการพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แก่ส่วนราชการ    และ
รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับส่วนที่พับไป และ การจัดสรรเงินงบประมาณในโอกาสต่อไปให้แก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ     โดย คำนึงถึงความพร้อมในการดำเนินการของส่วนราชการทั้งนี้เพื่อให้การจัดสรรเงินงปม. แผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด     
      
                                        

 
3.   ให้   สำนักงาน ก.พ.ร.    กำหนดให้การก่อหนี้ผูกพันและการเบิกจ่ายเงินกันไว้
เบิกเหลื่อมปีเป็นตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณต่อไป  
ทั้งนี้     เพื่อให้การจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ สามารถสะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการเงินงบประมาณของส่วนราชการ
อีกทางหนึ่งด้วย


 การประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ได้พิจารณาเรื่องที่ เกี่ยวข้องสำนักงาน ก.พ.ร. สรุปได้ดังนี้

เรื่องที่ 20

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
“การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง
(CEO Retreat II)”

  
 
       คณะรัฐมนตรีรับทราบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)เป็นประธาน กรรมการฯ ที่รับทราบสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ“การพัฒนาผู้นำการบริหาร การเปลี่ยนแปลง (CEO Retreat II)” เมื่อวันที่ 4-6 มกราคม 2549 ตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ

       โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ในประเด็น การแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณา ดำเนินการต่อไป และให้ สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และ สำนักงาน ก.พ. รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ในประเด็นการส่งเสริม และพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการโดยมีผู้ว่าซีอีโอ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป



   การประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 31 มกราคม 2549 ได้พิจารณาเรื่องที่ เกี่ยวข้องสำนักงาน ก.พ.ร. สรุปได้ดังนี้

เรื่องที่ 20

รายงานผลการดำเนินงานของ
ศูนย์บริการร่วมรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชน

     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงาน
ของศูนย์บริการร่วมรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) เสนอดังนี้

      สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อจัดตั้ง ศูนย์บริการร่วมรูปแบบ เคาน์เตอร์บริการประชาชน (Government Counter Service : GCS)เป็นต้นแบบ ในการขยายผล การดำเนินการต่อไป รวม 2 แห่ง โดยมีผลการดำเนินการและปัญหา อุปสรรค ดังนี้

    1. ผลการดำเนินการ

   1.1  เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต กรุงเทพฯ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมให้บริการ 17 หน่วยงาน และมีงานบริการ ต่างๆ รวม 22 งานบริการ ซึ่ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพและบริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด ให้ใช้พื้นที่โดยไม่คิดค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปีจนถึงสิ้นเดือน มกราคม 2549 และได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2548 แล้วมีประชาชน ใช้บริการรวม ทั้งสิ้น 46,879 ราย งานบริการที่ประชาชนใช้บริการ มากที่สุด คือ งานบริการไปรษณีย์/Pay at Post 18,742รายรองลงมาเป็นงานจัดทำบัตรประจำตัว ประชาชน 9,534 ราย และมีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 96.56



 1.2     เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัล แอร์พอร์ต
พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
          มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดที่เข้าร่วมให้บริการ 27 หน่วยงาน และมีงานบริการต่าง ๆ รวม 33 งานบริการ ซึ่งศูนย์การค้าเซ็นทรัลฯ ให้ใช้พื้นที่โดย ไม่คิดค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยได้เปิดบริการในช่วง 3 เดือนแรกตั้งแต่เดือนต.ต
ถึง ธ.ค. 2548 มีประชาชนใช้บริการรวมทั้งสิ้น21,881 ราย งานบริการที่ประชาชน ใช้บริการมากที่สุด คืองานบริการไปรษณีย์ 20,266 ราย รองลงมาเป็นงานจัดทำ บัตรประจำตัวประชาชน   1,345 ราย และจะมีการเปิดเคาน์เตอร์บริการประชาชน อย่างเป็นทางการได้ในต้น เดือนกุมภาพันธ์ 2549




     2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
        มีบางส่วนราชการยังมีแนวคิดว่าหากนำงานบริการมาไว้ที่เคาน์เตอร์บริการ ประชาชนและมีผู้ใช้บริการมาก ทำให้งานบริการที่สำนักงานของตนเองมีความสำคัญ น้อยลง รวมทั้งยังมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการให้บริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งในหลายงานบริการมีแนวโน้มที่จะถอนงานบริการออกไปหรือลดการให้บริการ
ลง เช่นการต่ออายุหนังสือเดินทาง เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือเดินทาง อิเล็กทรอนิกส์        หรือการปรับเวลาการให้บริการของการจัดทำบัตรทอง 30 บาท เป็น ให้บริการ ในวันอาทิตย์ – วันพฤหัสบดี เวลา11.00 – 19.00 น.เป็นต้น


ส่วนการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนยังไม่ได้ขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ี่ชุมชน ได้้อย่างเพียงพอ และมีงานบริการหลายประเภทไม่สามารถให้บริการได้เบ็ดเสร็จ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ เคาน์เตอร์บริการประชาชนไม่มีอำนาจอนุมัติ อนุญาตได้ตามกฎหมาย ต้องส่งเรื่องให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติอนุญาต ก่อนซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขโดยกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. .... ว่า ให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาต มอบอำนาจ ให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมหรือ ศูนย์ที่เรียกชื่อ อย่างอื่นได้

                                  

   
     
3. การดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการดังนี้
   (1) ได้ขอขยายระยะเวลาการใช้พื้นที่เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณรถไฟฟ้า หมอชิตต่อไป อีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 โดยขอยกเว้นค่าเช่าพื้นที่รวม ทั้งเพิ่มงานบริการจาก 22 งานบริการ เป็น 25 งานบริการ และเพิ่มหน่วยงาน ที่ี่เข้าร่วมจากเดิม 17 หน่วยงาน เป็น 19 หน่วยงาน

   (2)   ติดตามผลการจัดตั้งและเปิดดำเนินการเคาน์เตอร์บริการของหน่วยงานและ จังหวัดต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจะกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพมาตรฐานแก่หน่วยงาน และจังหวัดที่ให้บริการได้ตามเกณฑ์

   (3)  ดำเนินการให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2549 ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงและจังหวัดจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไม่น้อยกว่า กระทรวง/จังหวัดละ 1 แห่ง

         สำหรับปีงบประมาณ 2550 – 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. จะขยายผลการจัดตั้ง เคาน์เตอร์บริการประชาชน โดย

          ปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน  จำนวน 15 แห่ง
งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท

          ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน จำนวน 20 แห่ง
งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท

          ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน จำนวน 20 แห่ง
งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท

          ซึ่งจะประสานให้มีหน่วยงานเข้ารับช่วงดำเนินงาน เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งอาจมีรายได้จากงานบริการเพียงพอในการนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยไม่ต้องขอใช้งบประมาณประจำปีแต่หากไม่เพียงพอก็อาจจำเป็นต้อง
ของบอุดหนุน เพิ่มเติมต่อไป


                                                                            

 1.  การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชนนี้เป็น การดำเนินการในลักษณะการนำบริการของหน่วยงานภาครัฐไปสู่ประชาชนซึ่งจะเป็น การอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนและกระบวนการทำงาน และขยายการให้บริการประชาชน เป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ในระยะเริ่มแรก มีการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนนำร่องในพื้นที่ี่แหล่งชุมชน 2 แห่งจากผลการดำเนินการปรากฏว่าสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ควรที่จะมีการขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนเพิ่มเติมต่อไป



 2. การขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2550 – 2551 มีภาระใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นอกจาก ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อสร้างวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ และค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ แล้ว ค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่เพื่อตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในห้างสรรพสินค้า จะเป็นภาระงบประมาณต่อเนื่อง ดังนั้น ในการจัดหาสถานที่ในการดำเนินการจัดตั้ง เคาน์เตอร์บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ สมควรพิจารณา จากสถานที่ที่เจ้าของพื้นที่ ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ี่ให้เพื่อมิให้ เป็นภาระผูกพัน งบประมาณระยะยาว และควรคำนึงถึง สถานที่ที่เป็นแหล่งชุมชน หรือที่มีประชาชนมาใช้บริการต่าง ๆ อยู่แล้ว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบริการประชาชน เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น



  3.  ขณะนี้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกำหนดรับรองการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้บังคับแล้ว ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเอกชน สำหรับในภาครัฐสามารถดำเนินการได้ โดยพระราชกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา ในเรื่องดังกล่าวแล้ว  หากร่างพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแล้วประชาชนจะสามารถ ติดต่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะมีผลให้
หน่วยงานของรัฐสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้กว้างขวางขึ้นและสามารถแบ่งเบา ภาระและปริมาณงานของเคาน์เตอร์บริการประชาชนได้ สมควรนำไปพิจารณาเพื่อ ปรับปรุงการดำเนินการของเคาน์เตอร์บริการประชาชนด้วย

   4. การบริการประชาชนในเรื่องใดที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไป ดำเนินการแล้วควรพิจารณาส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน ในท้องถิ่นด้วยโดยมอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปพิจารณาดำเนินการแทน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการจากรัฐได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ยิ่งขึ้น

      สำหรับงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้จ่ายให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ตามความเหมาะสมเป็นแห่ง ๆ ไป

                                                                  

E-Searching เพิ่มเติมได้ที่  http://www.thaigov.go.th/