สวัสดีค่ะ  ถึงเศรษฐกิจจะ้
ตกสะเก็ด น้ำมันขึ้นราคาสูงและ
การเมืองป่วน?   แต่ดูเหมือนสิ่ง
เหล่านี้จะไม่มีผลกระทบต่อสาระ
อันมีประโยชน์   e-Newsletter
แต่อย่างไรเลย
      ฉบับนี้ ขอนำเรื่อง สุดHot!
มานำเสนอ อาทิเช่นการจัดสรร
เงินรางวัล    คลินิคสัญจรให้คำ
ปรึกษาแก่ส่วนราชการและการ
เปิดตัว   สถาบันประชาสัมพันธ์ เป็น SDU   เป็นอย่างไร นั้น
โปรดติดตามค่ะ!

 

e-news ย้อนหลัง




ชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธี
การจัดสรรเงินรางวัล ปี’48

              ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ในรอบแรกของส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันการศึกษา รวมทั้งหลักเกณฑ์การจัดสรรเงิน รางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ก.พ.ร. ครั้งที่ 2/2549 และครั้งที่ 3/2549 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549 และ วันที่ 28 เมษายน 2549 ตามลำดับ ซึ่งหลังจากเรื่องดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของ ก.พ.ร. แล้วสำนักงาน ก.พ.ร. ก็ได้จัดส่งหนังสือแจ้งผลคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ไปให้หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อทำการยืนยันผลคะแนนดังกล่าวรวมทั้งแจ้งคะแนนเพิ่มเติมของบางตัวชี้วัด ที่เพิ่งจะทราบผลคะแนนมายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2549

            นอกจากนี้ในหนังสือแจ้งผลคะแนนดังกล่าวยังได้แจ้งจำนวนเงินรางวัลที่หน่วยงาน จะได้รับ ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ฯ ด้วย อย่างไรก็ตามจำนวนเงิน ดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หาก ผลการยืนยันคะแนนของส่วนราชการ จังหวัด และสถาบัน การศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งผลคะแนนและจำนวนเงินรางวัล กลับไปยังหน่วยงานต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นคาดว่าหน่วยงานต่างๆ จะได้รับเงินรางวัลประมาณ เดือนมิถุนายน โดยกรมบัญชีกลางจะนำเงินเข้าระบบ GFMIS เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถเบิกจ่ายได้                                                       


เงื่อนไขและข้อจำกัดของการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
 

           การจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 มีเงื่อนไขและข้อจำกัด ที่จะต้องทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่าง ๆ คือ

          1. วงเงินที่ได้รับจัดสรรเพื่อใช้เป็นเงินรางวัลฯ  นั้นมีจำนวน เท่ากับที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 คือ 5,550 ล้านบาท      ในขณะที่ส่วนราชการที่เข้าสู่ระบบการจัดทำคำรับรอง การปฏิบัติราชการและการประเมินผลนั้น มีจำนวนมากขึ้นกว่า เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 คือ จากเดิม 238 แห่ง ในปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 279 แห่ง ในปี 2548 โดย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) 142 แห่ง สถาบันการศึกษา 62 แห่ง และจังหวัด 75 จังหวัด

          2. ทุกหน่วยงานที่เข้าสู่ระบบการจัดทำคำรับรองฯ และประเมินผลในปีนี้ จะเข้าสู่ระบบ การประเมินและการจัดสรรเงินรางวัลในหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยไม่มีการแบ่งเป็นกลุ่มภาคบังคับ กลุ่มท้าทาย และกลุ่มนำร่อง เหมือนเมื่อปี 2547 ดังนั้น จึงไม่มีการคูณ 2 เท่า ให้กับหน่วยงาน ที่อยู่ในกลุ่มท้าทาย และกลุ่มนำร่องเหมือนใน ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงาน ที่เคยอยู่ใน กลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง ได้รับการจัดสรรน้อยลงอย่างใร ก็ตาม ก.พ.ร. ได้มีมาตรการชดเชย ในเรื่องนี้ ซึ่งเราจะกล่าวถึงอีกครั้งหนึ่ง

           3. อัตราการจ่ายเงินรางวัล [B(Ri)] เปลี่ยนแปลงไปจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 โดย จะมีช่วงชั้นที่ละเอียดขึ้น

          4. การแยกฐานเงินเดือนของตำรวจภูธร  ออกจากฐานเงินเดือนของส่วนราชการ
ประจำจังหวัด เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการปรับเปลี่ยน โครงสร้างตำรวจภูธรจังหวัด ไปเป็นราชการบริหารส่วนกลาง

                                          

ตัวแปรที่ส่งผลจำนวนเงินรางวัลที่หน่วยงานจะได้รับ
 

           หน่วยงานที่จะได้รับการจัดสรรเงินรางวัลนั้น จะต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองฯ ไม่ต่ำว่ากว่า 3.00 คะแนน โดยจำนวนเงินรางวัลที่หน่วยงานจะได้รับขึ้นอยู่ กับตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้

           1. คะแนนผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ (Ri) ซึ่งผลการประเมิน การปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ในรอบแรกของส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันการศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สรุปได้ดังนี้

คะแนนสูงสุด

คะแนนต่ำสุด

คะแนนเฉลี่ย

ส่วนราชการ

5.00

3.73

4.65

จังหวัด

4.58

3.56

4.11

สถาบันการศึกษา

4.67

2.61

4.15

ผลรวม

5.00

2.61

4.39

โดยหน่วยงานที่มีคะแนนผลการประเมินใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย (4.39) ก็จะได้รับเงิน รางวัลประมาณ 20% ของฐานเงินเดือน ในขณะที่หน่วยงานได้รับคะแนนผลประเมิน สูงกว่าค่าเฉลี่ยก็จะ ได้รับเงินรางวัลสูงกว่า 20% (ประมาณ 20% – 30%) ของฐานเงินเดือน และในทางตรงกันข้าม ถ้าหน่วยงานมีคะแนนผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก็จะได้รับเงิน รางวัลประมาณ 10% - 20% ของฐานเงินเดือน

            2.  การแปลงคะแนนผลการประเมินเป็นอัตราการจ่ายเงินรางวัล [B(Ri)] ซึ่งในปีนี้ มีช่วงชั้นที่ละเอียดขึ้น จากเดิมที่แบ่งช่วงเป็น 0.5 เปลี่ยนมาเป็น 0.25 ดังนี้

อัตราการจ่ายเงินรางวัล [B(Ri)] ปี 2548

Ri

B(Ri)

5 .00

3.00

4.75-4.99

2.75

4.50-4.74

2.50

4.25-4.49

2.25

4.00-4.24

2.00

3.75-3.99

1.75

3.50-3.74

1.50

3.25-3.49

1.25

3.00-3.24

1.00

2

0

1

0

            3. ขนาดของหน่วยงาน (เงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ของหน่วยงาน) (Pi) โดยฐานในการคำนวณนั้น จะใช้ฐานเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการ และลูกจ้าง ประจำที่ได้รับจากเงินงบประมาณงบบุคลากร (หมวดเงินเดือนและค่าจ้างเดิม)  ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำทุกตำแหน่ง ณ วันที่ 1 กันยายน 2548

           4. ผลรวมของส่วนแบ่งทั้งหมดที่คิดจากอัตราการจ่ายเงินรางวัลคูณด้วยขนาด ของหน่วยงาน [3. ขนาดของหน่วยงาน (เงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ของหน่วยงาน) (Pi) โดยฐานในการคำนวณนั้น จะใช้ฐานเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการ และลูกจ้าง ประจำที่ได้รับจากเงินงบประมาณ งบบุคลากร (หมวดเงินเดือนและค่าจ้างเดิม) ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำทุกตำแหน่ง ณ วันที่ 1 กันยายน 2548B(Ri) x Pi] ซึ่งหากบางหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงคะแนนการประเมิน ผลก็จะกระทบกับการคำนวณเงิน รางวัลทำให้ต้องคำนวณใหม่ทั้งหมด  ด้วยเหตุนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ ขอให้ทุกหน่วยงานยืนยันผลคะแนนของตนภายใน วันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ซึ่งหากมีหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลง คะแนนจะทำให้ ต้องคำนวณเงินรางวัลใหม่ทั้งหมดส่งผลให้เงินรางวัลที่หน่วยงานต่างๆ  จะได้รับในรอบแรกจะเปลี่ยนแปลง ไปจากที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งไปแล้วในข้างต้น

 

การจัดสรรเงินรางวัล
 

         แนวทางการคำนวณจัดสรรเงินรางวัล
         แนวทางการคำนวณจัดสรรเงินรางวัลนั้น จะจัดสรรให้กับทุกหน่วยงานที่ปรากฏตาม กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ/กฎมหาวิทยาลัย/กฎทบวง ที่มีส่วนราชการ ตามกฎหมาย โดยในกรณี ของราชการบริหารส่วนกลางราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการอยู่ในภูมิภาค และราชการบริหารส่วนภูมิภาคนั้นในการคิดคะแนนและการได้รับจัดสรรเงินรางวัลจะพิจารณาดังนี้

ตามที่ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ

ส่วนกลาง

ส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการ
ในภูมิภาค

ส่วนภูมิภาค

1. คะแนน
การประเมินผล

ส่วนราชการต้นสังกัด

ใช้คะแนนเฉลี่ยของจังหวัด
ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของหน่วยงาน
ส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการ
ในภูมิภาคดังกล่าว
(เช่น ศูนย์/เขต/ภาค)

จังหวัด

2. ข้าราชการ
และลูกจ้างประจำ
จะได้รับเงินรางวัล

ส่วนราชการต้นสังกัด

ส่วนราชการต้นสังกัด

จังหวัด

         สำหรับรายชื่อของหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการ อยู่ในภูมิภาคและราชการบริหารส่วนภูมิภาคนั้นสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร.

         วิธีการจัดสรรเงินรางวัล
         เพื่อเป็นการชดเชยให้กับหน่วยงานที่อาจจะได้รับเงินรางวัลลดลงอันเนื่องมาจาก ข้อจำกัด และเงื่อนไขต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่อยู่ในกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ที่ประชุม ก.พ.ร. จึงได้เห็นชอบแนวทางดังนี้

           แบ่งวงเงินรางวัลที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด 5,550 ล้านบาท ออกเป็น 3 ส่วน คือ

           ส่วนที่ 1 จำนวน 4,440 ล้านบาท (จัดสรรรอบแรก)
           จัดสรรให้ทุกหน่วยงานตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการและฐานเงินเดือน และค่าจ้างของข้าราชการและลูกจ้างประจำ โดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้

           โดยที่...
            B(Ri) x Pi = อัตราการจ่ายเงินรางวัลของหน่วยงาน [B(Ri)] x ฐานเงินเดือน
ของหน่วยงาน (Pi)

           B(Ri) x Pi = ผลรวมของอัตราการจ่ายเงินรางวัล x ฐานเงินเดือนของทุกหน่วยงาน

         ส่วนที่ 2 จำนวน 550 ล้านบาท (จัดสรรรอบแรก)
         เป็นเงินรางวัลชดเชย โดยจัดสรรให้ส่วนราชการในกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2547 รวมทั้งส่วนราชการที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการ อยู่ในภูมิภาคที่ส่วนราชการต้นสังกัดอยู่ในกลุ่มภาคบังคับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ รับเงินรางวัลมากกว่ากลุ่มภาคบังคับ 2 เท่า โดยหลักของการชดเชย คือ หน่วยงานใดที่มีผล การประเมินในปี 2548 ที่สูงขึ้น กว่าปี 2547 ก็จะได้รับเงินรางวัลชดเชยสูงกว่าหน่วยงาน ที่มีผลการประเมินลดลง

         ส่วนที่ 3 จำนวน 560 ล้านบาท (จัดสรรรอบสอง)
         จะจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆเป็นรอบที่2ประมาณเดือนสิงหาคม 2549  เนื่องจากคะแนน ผลการประเมินในรอบแรกของบางหน่วยงานยังไม่สมบูรณ์โดยตัวชี้วัดบางตัวยังไม่ทราบผลคะแนน เพราะต้องรอผลคะแนนจากการสำรวจหรือในกรณีของตัวชี้วัดของจังหวัด     ซึ่งต้องรอข้อมูลจาก หน่วยงานส่วนกลางเช่น ส.น.ง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

ผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเงินรางวัล
 

            ยังคงเหมือนในปีที่ผ่านมา โดยยึดตามระเบียบกระทรวงการคลัง กล่าวคือ ผู้มีสิทธิ ได้รับเงินรางวัล ได้แก่ ข้าราชการ และลูกจ้างประจำ ที่ได้รับเงินเดือน และค่าจ้างจากเงิน งบประมาณ งบบุคลากร (หมวดเงินเดือนและค่าจ้างเดิม)  ของส่วนราชการนั้น ๆ ณ วันที่ 1 กันยายน 2548

สำหรับพนักงานราชการและพนักงาน มหาวิทยาลัยนั้น ไม่อยู่ในกลุ่มของผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัล เนื่องจาก ไม่ได้รับค่าจ้างจากงบประมาณ งบบุคลากร  (หมวดเงิน เดือนและค่าจ้างเดิม) อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงาน ต้องการจะจัดสรรเงินรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว ก็เป็นดุลพินิจของหน่วยงานนั้น ๆ โดยอาจจัดสรรจาก เงินรางวัลที่หน่วยงานได้รับเพียงแต่ในการคำนวณ เงินรางวัลที่หน่วยงานจะได้รับจะไม่นำฐานเงินเดือน/ ค่าจ้างของเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้มาใช้ในการคำนวณ

            ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. กำลังประสานกับกรมบัญชีกลาง เนื่องจากอาจจะ ต้องแก้ไขระเบียบในเรื่องของการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นให้หน่วยงาน สามารถใช้ดุลพินิจ ในการพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลกับเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวได้


การจัดสรรเงินรางวัลของหน่วยงานให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
 

           เมื่อหน่วยงานได้รับการจัดสรรเงินรางวัลแล้ว จะต้องจัดสรรให้กับข้าราชการ และลูกจ้าง ประจำ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ส่งให้กับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

           1.  ต้องไม่นำเงินรางวัลทั้งหมดที่ได้รับไปจัดสรรโดยวิธีการหารเฉลี่ย ให้ผู้มีสิทธิ ได้รับเงินรางวัลได้รับเท่ากันแต่ต้องจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และหลักเกณฑ์วิธีการจัดสรรเงินรางวัล ให้แก่ข้าราชการ และลูกจ้างประจำ ทั้งนี้ ต้องประกาศ หลักเกณฑ์ให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำได้ทราบโดยทั่วกันด้วยทั้งนี้หน่วยงานจะต้องส่ง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการและหลักเกณฑ์วิธีการจัดสรรเงินรางวัล ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำให้กับสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 เพื่อช่วย พิจารณาไม่ให้ขัดกับระเบียบกระทรวงการคลัง

           2. ต้องนำไปจัดสรรให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเงินรางวัล ได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้าง ประจำ ทั้งนี้ ผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลนี้ โดยใน กรณีของเงินเพิ่มพิเศษ ของผู้บริหารนั้น เป็นงบประมาณคนละส่วนกับเงินรางวัล จำนวน 5,550 ล้านบาทนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประเมินผลงานแล้ว ยังเป็นการลดช่องว่าง ของเงินเดือนผู้บริหารในภาคราชการ ที่แตกต่างกับภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ภารกิจ ติดตามฯ จะสรุป FAQ ในเรื่องดังกล่าวให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเป็นแนวทางใน การตอบคำถามและให้คำแนะนำกับหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องดังกล่าวต่อไป

         ในกรณีของสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลที่ได้รับ ให้แก่พนักงาน มหาวิทยาลัยที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของสถาบันการศึกษาด้วยก็ได้          สำหรับข้าราชการตำรวจนั้น นอกจากการแยกฐานเงินเดือนของ ตํารวจภูธร ออกจาก ฐานเงินเดือนของส่วนราชการประจําจังหวัดไป เป็นฐานเงินเดือนของสำนักงานตำรวจแห่ง- ชาติ ทำให้เงินรางวัลของตำรวจภูธรจะคำนวณผลการดำเนินงานของจังหวัด แต่รับเงินรางวัล ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แล้ว ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ได้แก่
                                      
                                   

             - ตำรวจรถไฟ รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของการ รถไฟแห่งประเทศไทย แต่ปฏิบัติงานโดยสะท้อนเป้าหมายของ สตช. จะคำนวณผลการ
ปฏิบัติงานของ สตช. และได้รับเงินรางวัลจาก สตช.

             - ตำรวจทางหลวง รับเงินเดือนจากกรมทางหลวง จะใช้คำนวณผลการดำเนินงานของกรมทางหลวง และรับเงินรางวัลที่กรมทางหลวง

             - ตำรวจท่องเที่ยวรับเงินเดือนจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) จะรับเงิน
รางวัลที่ สพท.


           3.ผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติ ราชการโดยแบ่งการประเมินเป็น 5 ระดับเช่นเดียวกันกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการ   สถาบันอุดมศึกษา และ จังหวัด โดยที่ระดับที่ 5 คือ มีผลการปฏิบัติ ราชการดีเยี่ยมและระดับที่ 1 คือ มีผลการปฏิบัติราชการไม่เป็นที่ยอมรับผู้ที่มีคะแนน การประเมินผลการปฏิบัติราชการต่ำกว่า 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล

           4. จำนวนเงินรางวัลที่ผู้มีสิทธิจะได้รับขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมผลักดันให้ผลงาน ของบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และผลการประเมินการปฏิบัติราชการของผู้สิทธินั้น ๆ

การจัดสรรเงินรางวัลของหน่วยงานให้แก่สำนัก/กอง หรือสำนักงาน
 

        การจัดสรรเงินรางวัลของหน่วยงานให้แก่สำนัก/กองหรือสำนักงานนั้นมีแนวทาง ที่สำคัญคือ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

       ส่วนที่  1 รางวัลสำหรับความร่วมมือเป็นรางวัลที่ สะท้อนถึงความร่วมมือกันในการสร้าง
ผลงาน ให้ส่วนราชการ /จังหวัด

       ส่วนที่  2 รางวัลสำหรับความโดดเด่นในการผลักดัน งานของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย เป็นรางวัลที่สะท้อน ถึงความโดดเด่นเฉพาะของสำนัก/กองหรือสำนักงานในการเป็น ส่วนสำคัญที่ผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย

       ทั้งนี้ สัดส่วนของรางวัลทั้ง 2 ส่วนข้างต้น จะแตกต่างกันไปตามลักษณะวัฒนธรรม และเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานซึ่งการกำหนดสัดส่วนนั้นจะแล้วแต่การพิจารณาของหน่วยงาน

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป
 

           หลังจากที่ส่วนราชการจังหวัดและสถาบันการศึกษาได้รับการแจ้งผลคะแนน การประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 แล้วทุกหน่วยงาน จะต้องดำเนินการดังนี้

ส่วนราชการ/จังหวัดยืนยันคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ
กลับไปยังสำนักงาน ก.พ.ร.
ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2549

สำนักงาน ก.พ.ร. ประมวลผลและคำนวณจัดสรรเงินรางวัลอีกครั้ง
แล้วแจ้งยืนยันไปยังส่วนราชการ/จังหวัดต่าง ๆ

ส่วนราชการ/จังหวัดกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล
ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำและประกาศให้ทราบทั่วกัน

ส่วนราชการ/จังหวัดเบิกจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้มีสิทธิ

ส่วนราชการ/จังหวัดส่งหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล
ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร.
ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2549

           สำหรับรายละเอียดต่างๆของหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ทั้ง การจัดสรรให้กับส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันการศึกษา รวมถึงการจัดสรรเงินรางวัลให้กับสำนัก/กอง  หรือสำนักงานและการจัดสรรในระดับ บุคคลสามารถอ่านรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานก.พ.ร.ที่  http://www.opdc.go.th ซึ่งนอกจากหลักเกณฑ์แล้วจะมีการรวบรวมประเด็น คำถามต่าง ๆ ในเรื่องนี้และเผยแพร่ในเว็บไซต์ ของสำนักงาน ก.พ.ร. ด้วยค่ะ