มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม
2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม
2549
ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่
ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสำนักงาน
ก.พ.ร. จำนวน 1 เรื่อง
สรุปได้ดังนี้
เรื่องที่ 4
แผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ
และคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย
ทั้ง 10 คณะ
ประจำปี 2548 และ ประจำปี
2549
|
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบรายงานผลการพัฒนากฎหมาย ประจำปี 2548 ประกอบด้วย
รายงานผลการพัฒนากฎหมายของคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย
และส่วนราชการ
กับรายงานผลการพัฒนากฎหมายรายฉบับประจำปี 2548 และเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาแผนพัฒนากฎหมายประจำปี
2549 ประกอบด้วย
รายงานผลการเสนอแผนพัฒนากฎหมายของคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย
และส่วนราชการกับรายงานผลของ ส่วนราชการที่ขอยกเว้นการประเมินผลการพัฒนากฎหมายประจำปี 2549 ตามที่คณะอนุกรรมการกำกับการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ
ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานเสนอและให้ดำเนิน
การต่อไปได้ สรุปได้ดังนี้
1. รายงานผลการพัฒนากฎหมาย ประจำปี 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547
เห็นชอบให้มีการชำระสะสางกฎหมายทั้งระบบ
โดย
ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดทำแผนพัฒนากฎหมาย
ซึ่งขณะนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมายประจำปี
2548 แล้ว
โดยมีรายละเอียดการดำเนินการของคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายและส่วนราชการ
ดังนี้
1.1 รายงานผลการพัฒนากฎหมายของคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย
ประจำปี 2548 คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายได้เสนอร่างกฎหมาย/โครงการ
เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีแล้ว
จำนวน 34 ฉบับ/โครงการจากจำนวนทั้งสิ้น 58 ฉบับ/โครงการ คิดเป็นร้อยละ
46.15
1.2 รายงานผลการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการประจำปี
2548 ส่วนราชการได้เสนอกฎหมายมาในปี 2548 จำนวน 400 ฉบับ
โดยส่วนราชการ
ได้ดำเนินการพัฒนากฎหมายหลักแล้วเสร็จเสนอมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
จำนวน 127 ฉบับ จากจำนวน 145 ฉบับ
และส่วนราชการได้ดำเนินการพัฒนา
กฎหมายลำดับรองแล้วเสร็จ
หรือเสนอมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจำนวน 233 ฉบับ
จากจำนวน 255
ฉบับ คิดรวมเป็นร้อยละ 90
ทั้งนี้
การดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมาย ประจำปี 2548 ปรากฏว่า
ส่วนราชการและคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายได้ดำเนินการพัฒนากฎหมาย
สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
(พ.ศ. 2548 - 2551)
1.3 รายงานผลการประเมินการพัฒนากฎหมายรายฉบับ ประจำปี
2548 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ
ว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย
ได้แจ้งให้กระทรวงและส่วนราชการรายงานการประเมิน
การพัฒนากฎหมายรายฉบับ ตัวชี้วัด 14
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วง
น้ำหนักของการดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการประจำปี 2548
บัดนี้ ส่วนราชการได้ดำเนินการรายงานผลการพัฒนากฎหมายมาแล้ว
จำนวน
31 หน่วยซึ่งคณะเจรจาข้อตกลงและการประเมินการพัฒนากฎหมาย
ของส่วนราชการ
ได้ดำเนินการตรวจประเมินกฎหมายรายฉบับของส่วนราชการ
ดังกล่าวแล้ว
โดยผลการประเมินในภาพรวมปรากฏว่าส่วนราชการที่ได้รับการ
ประเมินคะแนนระดับ 5 มี จำนวน 25
หน่วย และส่วนราชการที่ได้รับการประเมิน
คะแนนต่ำกว่าระดับ 5 มีจำนวน 4
หน่วย
2. รายงานผลการพิจารณาแผนพัฒนากฎหมายประจำปี 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548
เห็นชอบการจัดทำแผนพัฒนา
กฎหมายของส่วนราชการและคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายประจำปี 2549
โดยคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายและส่วนราชการต้องดำเนินการจัดทำแผน
พัฒนากฎหมายประจำปี
2549 ฉบับสมบูรณ์ ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ภายในวันที่ 30
พฤศจิกายน 2548 นั้น
บัดนี้
คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายและส่วนราชการได้เสนอแผน
พัฒนากฎหมาย ประจำปี
2549 มายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว ดังนี้
2.1 รายงานผลการเสนอแผนพัฒนากฎหมายของคณะอนุกรรมการ
พัฒนากฎหมาย ประจำปี
2549 คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายได้เสนอแผน
พัฒนากฎหมาย ประจำปี
2549 รวมทั้งสิ้น 31 โครงการ
2.2 รายงานผลการเสนอแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชาร ประจำปี
2549 สำหรับส่วนราชการได้เสนอแผนพัฒนากฎหมาย ประจำปี 2549
มาแล้วรวม
ทั้งสิ้น 515 ฉบับ/โครงการ
ซึ่งคณะเจรจาข้อตกลงและการประเมินการพัฒนา
กฎหมาย
ของส่วนราชการรับไว้ในแผนพัฒนากฎหมาย
รวมทั้งสิ้น 422 ฉบับ
/โครงการ
และคณะอนุกรรมการกำกับการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ
ได้ให้ความเห็นชอบ
แผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ ประจำปี 2549
ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะเจรจา
ข้อตกลง ฯ เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้
การดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมาย ประจำปี 2549 ปรากฏว่า
ส่วนราชการและคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย
ได้ดำเนินการพัฒนากฎหมาย
สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
(พ.ศ. 2548 - 2551)
มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2549 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 2 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
เรื่องที่ 2
การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ
และอนุกรรมการ
ในคณะกรรมการพัฒนา
การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
|
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ และอนุกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการพัฒนา การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และค่าตอบแทนของคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ค่าตอบแทนของคณะทำงานและที่ปรึกษาเลขานุการ ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทน เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง สรุปได้ดังนี้
1. ค่าตอบแทนของคณะกรรมการพัฒนาการบริหาร งานยุติธรรมแห่งชาติ
1.1 ประธานกรรมการให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 10,000 บาท เฉพาะเดือนที่มีการประชุมหากเดือนใดไม่มี การประชุม หรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
1.2 รองประธานกรรมการให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 9,000 บาท เฉพาะเดือนที่มีการประชุม หากเดือนใดไม่มี การประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
1.3 กรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ได้รับคำตอบแทน เป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 8,000 บาท เฉพาะเดือนที่มีการประชุม หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
1.4 เลขานุการให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง ในอัตรา ครั้งละ 1,000 บาท โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
1.5 ผู้ช่วยเลขานุการให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง ในอัตราครั้งละ 1,000 บาท โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
2. ค่าตอบแทนของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติแต่งตั้ง
2.1 ประธานอนุกรรมการหรือประธานคณะทำงานให้ได้รับ ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 5,000 บาท เฉพาะเดือนที่มีการประชุม หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
2.2 รองประธานอนุกรรมการหรือรองประธานคณะทำงานให้ได้รับ ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 4,500 บาท เฉพาะเดือนที่มีการประชุม หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
2.3 อนุกรรมการหรือคณะทำงานให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 4,000 บาท เฉพาะเดือนที่มีการประชุม หากเดือนใดไม่มี การประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
2.4 เลขานุการให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง ในอัตรา ครั้งละ 500 บาท โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง และมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนไม่เกิน 1 คน ทั้งนี้ อนุกรรมการหรือคณะทำงานผู้ใดเป็นเลขานุการด้วย ให้เบิกค่าตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว
2.5 ผู้ช่วยเลขานุการให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง ในอัตรา ครั้งละ 500 บาท โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง และมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้ อนุกรรมการหรือคณะทำงานผู้ใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ด้วยให้เบิกค่าตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว
2. ถ้าหากมีเรื่องทำนองนี้ ให้ส่งให้คณะทำงานที่ประกอบด้วย กระทรวง การคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณา ดำเนินการต่อไปได้ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบเป็นคราว ๆ ไป
กระทรวงยุติธรรม รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และขณะนี้ทางรัฐสภา ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติพัฒนา การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. .... เป็นกฎหมายแล้วโดยอยู่ในขั้นตอน นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งในมาตรา 6 ของร่างพระราชบัญัติ ดังกล่าวได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ตามมาตรา 10 และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ ตามมาตรา 13 ประกอบกับในมาตรา 15 บัญญัติให้กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ได้รับค่าตอบแทนตามที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด
2. กระทรวงยุติธรรม พิจารณาแล้วเห็นว่า คณะกรรมการพัฒนา การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ มีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสูงปฏิบัติ งานในด้านการกำหนดนโยบายอันมีผลกระทบต่อการบริหารงาน การอำนวย ความยุติธรรม ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครองที่ส่งผลต่อสังคมในภาพรวมของประเทศ จึงมีความจำเป็น ต้องมีการประชุมเชิงนโยบายและวางกรอบแนวทางการปฏิบัติงานแก่หน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทียบได้กับการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการในระดับชาติอื่น ตามประกาศของกระทรวงการคลัง
เรื่องที่ 22
แนวทางเร่งรัดการดำเนินงาน และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
|
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่าย งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
แนวทางการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549
1. การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.1 มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2549 และเตรียมการรองรับปี 2550 จากผลสรุปการประชุมระหว่างรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้ให้ความเห็นชอบเรื่องการเตรียมความพร้อม ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในกรณีพระราชบัญญัติงบประมาณปีพ.ศ. 2550 ประกาศใช้ไม่ทันตามปีปฏิทินงบประมาณ จึงเห็นสมควรให้คณะกรรมการ ติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ (นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงการคลัง เป็นประธาน) พิจารณากำหนดแนวทางให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินงบประมาณดำเนินการดังนี้
(1) เร่งก่อหนี้ผูกพันเงินงบประมาณ พ.ศ. 2549 ให้เสร็จสิ้น ภายในเดือนมิถุนายน 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ในกรณีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคาดว่าไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันให้รายงาน ปัญหาอุปสรรคแนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ให้กรมบัญชี กลาง ทราบภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาดังกล่าว จะไม่อนุมัติ ให้ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพัน
(2) เร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถเบิกเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และ งบผูกพันในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้มากที่สุด
(3) จัดทำแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบผูกพัน และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี สำหรับโครงการที่ได้รับจัดสรร งบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือโครงการไม่ถึง 100 ล้านบาท แต่เป็นโครงการ ในลักษณะเดียวกันรวมกันแล้วมียอดถึง 100 ล้านบาท และรายงานให้กรมบัญชีกลาง ทราบภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อนำเข้าคณะกรรมการติดตามผล การใช้จ่ายเงินภาครัฐ เพื่อติดตามเร่งรัดต่อไป
(4) ในกรณีที่ส่วนราชการมีปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงิน ให้แจ้งคณะอนุกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการย่อยของคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
1.2 มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2549 เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549 ได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควร ให้กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ อนุญาตผ่อนผันหลักเกณฑ์เป็นกรณีพิเศษเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ ดังนี้
(1) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 2 5 ล้านบาท ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549 ก็ให้หน่วยงาน ดำเนินการตามนั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นหรือมีปัญหาอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวได้ จึงผ่อนผันให้หัวหน้า หน่วยงานใช้ดุลยพินิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือ ระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็นหรือปัญหาอุปสรรคดังกล่าว ไว้ในรายงานขอซื้อ หรือขอจ้างตามที่ระเบียบกำหนด
(2) ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงาน แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา คัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดวัน เวลา และสถานที่เสนอราคา ในการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้าน บาท โดยการคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์และการกำหนดสถานที่ เสนอราคาจะต้องคัดเลือกและกำหนดจากรายชื่อที่กรมบัญชีกลางได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
2. โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐที่ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2549 และปัจจุบันได้ชะลอการ ดำเนินการออกไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 โดยให้กระทรวงเจ้าของโครงการรับไปพิจารณาทบทวนว่า โครงการใดยังมีความจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการ โดยให้ความสำคัญ กับโครงการที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อรองรับ การปฏิรูปการศึกษา และการยกระดับบริการด้านสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติที่กำหนดเป็นโครงการพิเศษของรัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อให้สามารถดำเนิน โครงการตามขั้นตอนปกติต่อไปได้
3. งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขณะนี้ได้จัดสรรไปแล้วจำนวน 12,856.18 ล้านบาท เห็นควรให้ส่วนราชการ ที่ได้รับการจัดงบประมาณดังกล่าว เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเร่งด่วน ส่วนงบประมาณที่รอการจัดสรรจำนวน 14,343.82 ล้านบาท ให้คณะกรรมการ พิจารณาค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์ และรองรับการเปลี่ยนแปลงเร่งรัดจัดสรร งบประมาณดังกล่าว โดยให้ความสำคัญกับรายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย และที่จำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
E-Searching เพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaigov.go.th/ |