ผ่านไปอย่างงดงาม และ
สมพระเกียรติ สำหรับพิธีฉลอง
ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สร้างความประทับใจจารึกภาพ
ประวัติศาสตร์ฝังลึกอยู่ในจิตใจ
ประชาชนไทย และชาวโลกอย่าง
มิรู้ลืม ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
       ในบรรยากาศ ดี ๆ เช่นนี้
e-newsletter ก็มีสิ่งดี ๆ มอบ
ให้เช่นกันค่ะ โปรดติดตามค่ะ

e-news ย้อนหลัง




มาตรการประหยัดพลังงาน

            วิกฤตการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานภาครัฐที่ได้รับการจัดสรร งบประมาณประจำปี สำหรับค่าใช้จ่ายด้าน สาธารณูปโภคไว้อย่างจำกัด ซึ่งอาจส่งผล ต่อการปฏิบัติงาน และการให้บริการประชาชน ในภาพรวม

            การส่งเสริมมาตรการประหยัดพลัง งานอย่างจริงจัง เป็นวิธีการหนึ่งที่จะรองรับ วิกฤตการณ์ ดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ เพื่อลดภาระ ค่าใช้จ่าย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญ ในเรื่องนี้ และได้มีการพิจารณาเรื่องมาตรการ ประหยัดพลังงานอยู่เสมอ ๆ ในการประชุม คณะรัฐมนตรี



            ล่าสุด ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 คณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาการปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องมาตรการประหยัดพลังงานตาม ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ มาตรการประหยัดพลังงาน จำนวน 21 ฉบับ ซึ่งล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ ปัจจุบัน และบางฉบับก็มีความซ้ำซ้อน ดังนั้น เพื่อความชัดเจนและไม่สับสนในการปฏิบัติ จึงให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีจำนวน 21 ฉบับดังกล่าว โดยให้เหลือเฉพาะมติคณะรัฐมนตรี ที่ยังคงมีผลอยู่จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

          มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 เรื่อง มาตรการ ประหยัดพลังงาน

        มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 เรื่อง มาตรการ บังคับเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ

          ทั้งนี้ โดยให้ถือว่ามาตรการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน เป็นวาระแห่งชาติที่มีความสำคัญ และเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายต้องดำเินินการให้เกิดผล เป็นรูปธรรมและต่อเนื่องต่อไป


   มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน

            สำหรับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน นั้น ได้เห็นชอบให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 เรื่อง ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ อย่างเคร่งครัด โดยเน้นมาตรการ 14 ข้อเป็นพิเศษ ซึ่งบางมาตรการนั้นที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.

            มาตรการประหยัดพลังงาน 14 ข้อที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้เน้นเป็นพิเศษ ประกอบด้วย


มาตรการ
ผู้รับผิดชอบ

1. มุ่งขจัดความสูญเปล่าของการใช้ทรัพยากรด้าน
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
     จากการดำเนินงานขององค์กร มากกว่าที่จะ
มุ่งเน้นแต่ความประหยัด

ทุกหน่วยงาน
2. นำระบบ e-Government มาใช้ใน
การปฏิบัติงานให้มากขึ้น
     เช่น การส่งหนังสือ การประชุมทางไกล เป็นต้น
ทุกหน่วยงาน

3. พิจารณาดำเนินการลดภาระ หรือขั้นตอนการ
ดำเนินการที่ก่อให้เกิด
     ความไม่สะดวก และเป็นภาระแก่ประชาชน ในการต้องเดินทางไปขอรับบริหารเกินจำเป็น เช่น กรณีการติดต่อชำระค่าบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ หรือการติดต่อราชการที่ต้องกระทำ ณ สำนักงานใหญ่เท่านั้น เป็นต้น

ทุกหน่วยงาน
4. เข้มงวดการใช้งบประมาณและงบรัฐวิสาหกิจ เพื่อการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ โดยพิจารณาถึงความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ และให้จำกัดจำนวนคน และจำนวนวัน
เดินทางเท่าที่จำเป็นด้วย ทั้งนี้ โดยไม่ให้โอนงบประมาณ
เหลือจ่ายปลายปี งบประมาณไปใช้เพื่อการดูงาน
ทุกหน่วยงาน
5. ใช้รถราชการนำขบวนเท่าที่จำเป็นโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2544
(เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวน ของบุคคล
สำคัญ หรือนักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขก
ต่างประเทศ ในการเยือนประเทศไทย)
- ทุกหน่วยงาน
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- หน่วยราชการทหาร
6. ใช้มาตรการปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศโดยเคร่งครัด
ทุกหน่วยงาน
7. การเรียกประชุมข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ให้กระทำ
เท่าที่จำเป็น และไม่ควรเรียกประชุมในวันหยุดราชการ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    ในกรณีหลายหน่วยจะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ คณะเดียวกันควรประสานวัน เวลาประชุมให้มีการเดินทางครั้งเดียว
ทุกหน่วยงาน
8. พิจารณาใช้บริการรถโดยสาร หรือรถรับจ้างสาธารณะ
(taxi) แทนการใช้รถราชการในการไปราชการนอกสถานที่
ตามความเหมาะสม
ทุกหน่วยงาน
9. ปรับเปลี่ยนรถราชการไปใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) แทนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดจำนวนเป้าหมาย และระยะเวลาแล้วเสร็จให้ชัดเจน และเร่งรัดการดำเนินการให้บรรลุผลโดยเร็ว
- ทุกหน่วยงาน
- กระทรวงพลังงาน
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
10. ปรับปรุงอัตราการพิจารณาค่างาน (น้ำมันเชื้อเพลิง) ให้เหมาะสม
สำนักงบประมาณ
11. พิจารณาความเหมาะสมให้ข้าราชการบางหน่วย และบางหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ที่พักอาศัยได้ โดยกำหนดจำนวนงาน และผลสำเร็จที่สามารถตรวจสอบและประเมินผลได้
ก.พ.
12. นำมาตรการศูนย์ย้ายงานใกล้บ้านมาดำเนินการ
อีกครั้ง
ก.พ.
13. นำมาตรการประหยัดพลังงาน ไปกำหนดเป็น
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (KPI) และมีผลต่อการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีต่อไป
ก.พ.ร.
14. ทบทวนและประมวลมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับ
การประหยัดพลังงานที่ยังมีผลอยู่ให้เหมาะสม และเป็นปัจจุบัน แล้วจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติงานต่อไป

- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- กระทรวงพลังงาน



   มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 เรื่อง มาตรการบังคับเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ

            ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ที่ประชุมได้พิจารณา มาตรการบังคับเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงพลังงาน เสนอแล้วมีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าว โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงาน หลักประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว

            มาตรการบังคับเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ มีดังนี้

            1. ห้ามจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ระหว่างเวลา 22.00 - 05.00 น. โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้ยกเว้น

                 1) สถานีบริการ NGV  สถานีบริการ LPG และสถานี บริการอากาศยาน สามารถเปิดจำหน่ายน้ำมันได้ตลอด 24 ชั่วโมง

              2) สถานีบริการน้ำมันที่ตั้งอยู่บริเวณถนนเส้นทางหลักของ การขนส่งสินค้าและคนโดยสารในเวลากลางคืน ที่ตั้งอยู่บริเวณถนนพหล โยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรเกษม และทางหลวง หมายเลข 32 41 42 226 และ 340 ในถนนช่วงที่อยู่นอกเขต กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล
                     ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวง พลังงาน พิจารณาปรับเพิ่มหรือลดการยกเว้น ได้ตามความเหมาะสม กับสถานการณ

                  3) สถานีบริการน้ำมันที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางหลักอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดตาม ข้อ 2) มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการผ่อนผัน ให้เปิดจำหน่ายเฉพาะน้ำมัน ดีเซล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่เห็นว่าเป็นสถานีบริการซึ่งเป็นจุดจอดรถ หรือจุดแวะพัก เชื่อมกับเส้นทางหลัก

               4) ให้กรมธุรกิจพลังงานและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำกับดูแลและควบคุม ให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดข้อ 2) และ ข้อ 3)

            2. กำหนดเวลาใช้ไฟฟ้าในการโฆษณา ป้ายสินค้าหรือบริการหรือประดับสถานที่ ทำธุรกิจ หรือป้ายชื่อร้าน ป้ายชื่อโรงภาพยนตร์ ที่มีขนาดตั้งแต่ 32 ตารางเมตรขึ้นไป สูงกว่า พื้นไม่น้อยกว่า 4 เมตร ใช้ไฟส่องสว่างอย่างต่ำ 1,000 วัตต์ ให้ใช้ไฟฟ้าได้ระหว่างเวลา 19.00 - 22.00 น. โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป
                 มอบหมายการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่วนใน ต่างจังหวัด ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

            3. กำหนดกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าใหม่เป็นการเฉพาะ สำหรับกิจการประเภท สถานบันเทิงเริงรมย์ เช่น ไนต์คลับ คาเฟ่ คาราโอเกะ ดิสโก้เธค ผับ บริการอาบอบนวด เป็นต้น เพื่อใช้มาตรการราคาไฟฟ้า ให้เกิดการใช้อย่างประหยัด โดยให้กระทรวงพลังงานรับไปดำเนินการต่อไป

            4. ห้ามหน่วยงานของรัฐเบิกจ่ายค่า น้ำมันเบนซินถ้าใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ
รถยนต์เบนซินของหน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ ให้เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แทนน้ำมันเบนซินเท่านั้น จึงจะสามารถเบิกจ่ายค่าน้ำมัน เชื้อเพลิงจากหน่วยงานต้นสังกัดได้ เว้นแต่ ไม่สามารถ หาสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ หรือเป็นรถยนต์ รุ่นเก่าที่ผลิตก่อนปี พ.ศ. 2538 ซึ่งไม่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้