มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 20
มิถุนายน 2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน
2549
ณ ห้องประชุม
ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่
ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณา
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน
6 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 3
การแปลงสภาพ กองโรงพิมพ์
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
และสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
สำนักงาน ก.พ.ร.
เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
(Service
Delivery Unit : SDU)
|
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแปลงสภาพ
กองโรงพิมพ์
เป็นสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
และอนุมัติให้ สำนักงาน ก.พ.ร. แปลงสภาพ สถาบันส่งเสริมการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2548
และให้กระทรวงการคลังดำเนิน
การแก้ไขกฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสอดคล้อง
กับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการ
รูปแบบพิเศษ
พ.ศ. 2548 ด้วย ตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
และให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาด้วย
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1.
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
พ.ศ. 2548 ข้อ 4 และ 5
กำหนดให้ส่วนราชการใดประสงค์จะแปลงสภาพหน่วยงานเดิมเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
ให้เสนอเรื่องต่อ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
และเมื่อ ก.พ.ร.
ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ ก.พ.ร.
นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2.
ก.พ.ร. ได้มีประกาศให้แปลงสภาพ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นหน่วยงานพิเศษ
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 โดยมีผล
ตั้งแต่วันที่
7 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป ซึ่งบทบาทหน้าที่และผลการดำเนินงานของสถาบันฯ
สรุปได้ดังนี้
2.1
บทบาทหน้าที่
1)
ให้การแนะนำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐในการยกระดับมาตรฐาน
การทำงาน
ให้มีความเป็นเลิศ
และสอดรับกับหลักการของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2)
ปรับเปลี่ยนทัศนคติ กระบวนทัศน์และวัฒนธรรม
ตลอดจนเสริมสร้างองค์
ความรู้ของบุคลากรภาครัฐ
ให้มีความพร้อมต่อการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่
2.2
การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมือง
ที่ดี
ตามประกาศสำนักงาน ก.พ.ร. ลงวันที่ 8 มีนาคม 2548
โดยมีเลขาธิการ
ก.พ.ร.
เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย
รองศาสตราจารย์ ธงทอง
จันทรางศุ
นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา นายวิสิฐ ตันติสุนทร
และศาสตราจารย์
ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่
เป็นกรรมการและเลขานุการ
และแต่งตั้งให้
ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่
เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.3
ผลการดำเนินการที่สำคัญของสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ได้แก่ โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำ
การเปลี่ยนแปลง (CCO)
และโครงการ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ CEO Retreat II
ของสำนักงาน
ก.พ.ร.
โครงการอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกองทัพอากาศ
โครงการอบรมหลักสูตร
การบริหารการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานจังหวัดระยอง
โครงการอบรมหลักสูตร
นักปกครอง
ระดับสูงสุด รุ่นที่ 49 และรุ่นที่ 50
ของกระทรวงมหาดไทย
โครงการวิจัยและที่ปรึกษา
ประกอบด้วย
โครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบบูรณาการสู่การปฏิบัติของสำนักตรวจราชการ
สำนักงานปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรี
และโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และฝึกอบรม
ของกรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย
3.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้ ก.พ.ร. พิจารณาแปลงสภาพกองโรงพิมพ์ เป็น
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
มีสถานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
(SDU)
โดยมีแผนการดำเนินงานพัฒนาเป็น 2 ระยะกล่าวคือ ช่วยระยะเปลี่ยนผ่าน
(Transitional Period)
ภายในเวลา 2 ปี
และช่วงบูรณาการ (Integration
Period)
ปีที่ 3 ขึ้นไป
สำหรับการเตรียมการในระยะเปลี่ยนผ่าน
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการ ดังนี้
3.1
การกำหนดกรอบและทิศทางในการบริหารงานและอำนาจหน้าที่
โดยมี
วัตถุประสงค์ให้สำนักพิมพ์เป็นหน่วยบริการสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ทั้งปวงที่เกี่ยวกับ
การจัดทำราชกิจจานุเบกษา
ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สัญญาบัตรยศ
สัญญาบัตร
สมณศักดิ์ และสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อ
ภารกิจของส่วนราชการเจ้าสังกัด
รวมทั้งอำนวยบริการที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์
ของสำนักพิมพ์
3.2
แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี
และราชกิจจานุ
เบกษา ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 203/ 2547
ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2547
เพื่อเตรียม
การแปลงสภาพและทำหน้าที่ในการวางนโยบายและอำนวยการ
3.3
การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ จัดทำแผนกลยุทธ์
ทิศทางการ
ดำเนินงานและระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานจัดทำแผนธุรกิจวิเคราะห์และ
ปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำลังให้เหมาะสมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต :
เกษียณอายุก่อน
กำหนดของลูกจ้างประจำเงินทุนหมุนเวียนโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดทำระบบ
บัญชีต้นทุนรวมทั้งปรับปรุงแผนการตลาดและการขาย
3.4
การปรับปรุงกระบวนการผลิต ได้แก่ การพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐาน
คุณภาพ
ISO 9001 :2000 ในกระบวนการผลิตจนได้รับใบรับรองจากสำนักรับรองระบบ
คุณภาพ
(สรร.)
ปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
พัฒนาธุรกิจงานพิมพ์ด่วน
พัฒนาธุรกิจศูนย์หนังสือ
เน้นการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของทางราชการ
รวมทั้งพัฒนา
เครื่องจักรและครุภัณฑ์
3.5
ปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ
3.6
การจัดเตรียมร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งต่าง ๆ
ตลอดจนแนวทาง
ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการแปลงสภาพไปสู่การบริหารงานรูปแบบพิเศษ
3.7
ผลการดำเนินงานของสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษาในช่วง
ที่ผ่านมา
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ ได้รับงบประมาณในการดำเนินการผลิตลดลงมา
โดยลดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา
ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ
ราชกิจจานุเบกษา
อิเล็กทรอนิกส์แต่ยังคงมีสภาพทางการเงินที่ไม่ขาดทุน
ทั้งนี้
หากสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ ได้รับเงินประเดิมที่เพียงพอ
จะทำให้มีศักยภาพ
ในการผลิตการบริการที่มีคุณภาพพอเพียงกับการแข่งขัน
ในตลาดธุรกิจประเภทเดียวกัน
ประกอบกับการดำเนินการเชิงรุกในด้านการตลาด
ก็จะทำให้มีผลกำไรมากขึ้นและสามารถเลี้ยง
ตัวเองได้อย่างมั่นคงต่อไป
เรื่องที่ 7
มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการใช้จ่ายงบประมาณ
ปีงบประมาณ
พ.ศ.
2549
และการเตรียมความพร้อมในการจัดการ
งบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2550
|
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ทั้ง 3 ข้อ
ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อรักษา
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2. การทบทวนประมาณการรายได้
3. การจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
และการจัดทำ
กรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี
โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.
มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1
งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
(1)
ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาทบทวนแผนการปฏิบัติงาน
และ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
โครงการ/รายการที่ไม่
สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุใด ๆ
ให้พิจารณาปรับแผนการปฎิบัติงานและแผนการ
ใช้จ่ายงบประมาณ
จากโครงการ/รายการเดิมที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์
และมีเงินงบประมาณเหลือจ่าย
หรือที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วหมดความจำเป็น
หรือที่มี
ลำดับความสำคัญลดลง
หรือคาดว่าไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายใน
วันที่ 30 มิถุนายน
2549
หรือคาดว่าไม่สามารถ
ใช้จ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย
ที่กำหนดไว้ในแผนภายในวันที่ 30 กันยายน 2549
เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค
หรือชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้
(ค่า K)
หรือดำเนินโครงการ
/รายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย
หรือตามสัญญาหรือตามข้อตกลง
หรือโครงการ
/รายการที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้
หรือค่าใช้จ่ายที่เกิด
จากผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น
ทั้งนี้
การปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ดังกล่าว
ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหาร
งบประมาณ
พ.ศ. 2548
(2)
หากได้ปฏิบัติตามนัยข้อ (1) แล้วมีเงินงบประมาณเหลือให้ส่วน
ราชการ
และรัฐวิสาหกิจพิจารณานำไปใช้จ่ายในโครงการ/รายการใด ๆ
ที่มีความจำเป็น
เร่งด่วน
ตามนโยบายรัฐบาลที่มีความพร้อมที่จะสามารถดำเนินการได้ทันทีโดยสามารถ
ก่อหนี้ผูกพัน
ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2549
การดำเนินดังกล่าวข้างต้น
ให้ถือปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 28
กุมภาพันธ์ 2549
เรื่องแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทน
ราษฎรโดยให้ส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการเฉพาะเรื่องจำเป็น
เร่งด่วนหรือเรื่องต่อเนื่อง
แล้วนำเสนอ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณา
ให้ความเห็นชอบ
ก่อนนำเสนอสำนักงบประมาณภาย
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2549
เพื่อสำนักงบประมาณ
จะได้รวบรวมนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติภายในวันที่ 14
กรกฎาคม 2549 ต่อไป
1.2 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการใดที่ส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจ
ได้รับ
การจัดสรรงบประมาณไปใช้จ่ายบรรลุวัตถุประสงค์แล้วให้นำส่งคืนคลังตาม
ระเบียบว่าด้วย
การบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548
หากมีความจำเป็นจะต้องนำไป
ใช้จ่ายในรายการอื่น ๆ
ให้
พิจารณาดำเนินการตามข้อ 1.1 ได้โดยอนุโลม ยกเว้น
งบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการดำเนิน
งานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
กลุ่มจังหวัด และจังหวัดให้ดำเนินการตามข้อ 1.3
1.3
งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนิน
งานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
ให้รองนายกรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกัน
พิจารณาดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณงบกลาง
รายการ
ดังกล่าว ที่จัดสรรให้แก่กลุ่มจังหวัด/จังหวัดต่าง ๆ
ในโครงการ/รายการที่ได้
ดำเนินการบรรลุ
วัตถุประสงค์แล้วมีเงินงบประมาณเหลือจ่าย
หรือที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว
หมดความจำเป็น
หรือที่มีลำดับความสำคัญลดลง
หรือคาดว่าไม่สามารถดำเนินการ
ก่อหนี้ผูกพันได้ภายใน
วันที่ 30 มิถุนายน
2549
หรือคาดว่าไม่สามารถเบิกจ่าย
งบประมาณได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
ไว้ในแผนภายในวันที่
30 กันยายน 2549
ให้นำไปดำเนินโครงการรายการฉุกเฉินหรือที่มี
ความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไข
ปัญหาภัยพิบัติ
หรือเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนโดยเร่งด่วน
ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะมีผลเสียหายต่อทางราชการ
หรือประชาชน
ผู้รับบริการ
1.4
งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
หรืออยู่
ระหว่างการขออนุมัติขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินดังกล่าวออกไปอีก ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำมาตรการ
ข้อ 1.1 และ
ข้อ 1.2
ข้างต้น
มาใช้โดยอนุโลม
1.5
กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการ
ในข้อ 1.1
ข้อ 1.2
และ ข้อ 1.3 ให้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี
เป็นกรณีๆ
ไป
1.6
ให้สำนักงบประมาณร่วมกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณา
ดำเนินการ
ทบทวนแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณในรอบครึ่ง
ปีงบประมาณเพื่อทบทวน
/ชะลอ/ยกเลิกโครงการ/รายการ ต่าง ๆ
และปรับแผน
การปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
งบประมาณของปีงบประมาณต่อ ๆ
ไปให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
และสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้
สำนักงบประมาณ
ได้กำหนดแผนการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริม
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
2 การทบทวนประมาณการรายได้
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกระทรวงการคลัง
จะต้อง
พิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.
2550
และประมาณการรายได้
ล่วงหน้า 3 ปี
ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
และแนวโน้มที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการบริหาร
ราชการแผ่นดิน และนโยบายงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3.
การเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ
พ.ศ.
2550
3.1 การจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2550
(1) การกำหนดกรอบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ
พ.ศ. 2550
สำนักงบประมาณได้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ
รายจ่าย
ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดทำ
งบประมาณภายใต้เงื่อนไขกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน
เดือนตุลาคม 2549
โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้
ช่วงเวลา |
ขั้นตอนสำคัญ |
ตุลาคม 2549 |
การเลือกตั้งทั่วไป |
มกราคม 2550
(สัปดาห์ที่สอง) |
คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2550 ต่อรัฐสภา |
มีนาคม 2550
(สัปดาห์ที่สาม) |
ฝ่ายนิติบัญญัติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ |
มีนาคม 2550
(สัปดาห์ที่สี่) |
ทูลเกล้าถวายร่างพระราชบัญญัติฯ |
เป้าหมายข้างต้นเป็นกรอบระยะเวลาที่จำกัดมาก
ในการจัดทำ
งบประมาณรายจ่าย
ประจำปีภายใต้กรณีที่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่ง
บริหารประเทศ
และมีผลให้ต้องใช้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วง
แล้วไปพลางก่อน
ประมาณ
6 เดือน
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายกรอบระยะเวลาข้างต้นได้
และลด
ระยะเวลาการใช้
งบประมาณไปพลางก่อนให้น้อยที่สุด
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
จะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้
การบริหารกรอบเวลาการจัดทำงบประมาณเป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพ
ดังนี้
1) ลดระยะเวลาในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินแผน
ปฏิบัติราชการ 4 ปี
และ แผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้หน่วยงานกลางที่
รับผิดชอบในการทำแผนประสานข้อมูล
ในเชิงรุกเพื่อจัดทำแผนร่วมกับส่วนราชการ
ที่เป็นหน่วยปฏิบัติ
รวมทั้งให้ใช้คำของบประมาณรายจ่าย
ประจำปีเป็นแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของส่วนราชการ
เช่นเดียวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2549
2) ให้ส่วนราชการจัดเตรียมข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.
2550
(เบื้องต้น) ในส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็นรายจ่าย
ตามข้อผูกพันที่ต้องจัดสรร
และ
รายจ่ายตามภารกิจพื้นฐาน
เพื่อใช้ในการวางแผน
และกำหนดนโยบายงบประมาณ
3) จำกัดกรอบระยะเวลาการจัดทำงบประมาณของฝ่ายบริหารเหลือ
ประมาณ 36 วัน
จากเดิมที่มีกรอบเวลาเฉลี่ยประมาณ 70 วัน
โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
จะต้องกำกับ
และให้นโยบาย
การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ
ของส่วนราชการ
ควบคู่กันไปกับการพิจารณาของสำนักงบประมาณ
|
ทั้งนี้
สำนักงบประมาณจะนำแนวทางการบริหารกรอบเวลา
การจัดทำงบประมาณ อย่างมีประสิทธิภาพไปประกอบการกำหนด
แผน
และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ในปฏิทินงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550 ต่อไป |
(2)
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจจากการใช้
งบประมาณ
ไปพลางก่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 179
บัญญัติให้ใช้
กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง
ก่อน ถ้าพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบ
ประมาณใหม่
และพระราชบัญญัติวิธีการงบ
ประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 16
บัญญัติ
ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
1) เดือนตุลาคม 2549 ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น
ของรัฐสามารถใช้จ่าย
งบประมาณรายจ่าย
ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้
งบประมาณไปพลางก่อน
โดยคาดว่าใน
ไตรมาสที่ 1 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณ
ได้ประมาณ 273,400
ล้านบาท ไตรมาสที่ 2
จะสามารถ
เบิกจ่ายงบประมาณได้
ประมาณ 283,300
ล้านบาท
2) เพื่อชดเชยการใช้จ่ายภาครัฐในช่วง 2 ไตรมาส
ที่ลดลงจากการ
ใช้งบประมาณจริง
จึงเห็นสมควรให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ
หามาตรการอื่นมาดำเนินการ
เช่น
การปรับ
แผนการลงทุนและแผนการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในไตรมาส
ที่
1-2
และกำหนดมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่าย
และการลงทุน
ภาคเอกชน
เป็นต้น
(3)
การวางแผนเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550
ควบคู่กับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
เนื่องจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2551
มีช่วงเวลา
เหลื่อมซ้อนกันกับกรอบปฏิทินการจัดทำงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2550
โดยจะดำเนินการ
1) สำนักงบประมาณจะเตรียมการวางแผนการจัดทำงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.
2551
ควบคู่กันไปกับ
กระทรวงส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานอื่นของรัฐ
ภายใต้กรอบระยะเวลาอันจำกัด
2)
นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ต่อฝ่าย
นิติบัญญัติ
แยกฉบับของแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้
3.2 การจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3
ปี
สภาวการณ์และระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน
เผชิญกับ
ความผันผวนอันเนื่องจาก
ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น
เพื่อเป็นการเสริม
สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เติบโต
อย่างยั่งยืน
และเป็นการสร้างความเชื่อมั่น
ให้แก่นักลงทุนทั้งใน
และต่างประเทศ
จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำกรอบแผนการลงทุน
ภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี
ที่กำหนดทิศทางในการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
โดยเฉพาะ
รายจ่ายลงทุนได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ
3 ปี
(ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2550
- 2552) จะดำเนินการโดย
(1)
ยึดร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
เป็นยุทธศาสตร์ 3
ปี
ที่
ดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศและเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก
(2)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง
และสำนักงบประมาณ
จัดลำดับความสำคัญของกรอบแผนการลงทุน
ภาครัฐล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจน
ในแต่ละปีงบประมาณ
เพื่อให้กระทรวงใช้เป็นหลักใน
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี
(3)
โครงการภายใต้แผนการลงทุนดังกล่าวต้องมีความพร้อม
และสามารถดำเนินการได้ทันที
เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550
มีผลบังคับใช้
(4)
กรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี
คาดว่าจะจัดทำให้
แล้วเสร็จภายใน
เดือนสิงหาคม 2549
เรื่องที่ 13
รายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการ
ตามยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ช่วงที่
1
|
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการ
ตามยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคม
ที่มี
คุณภาพของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549
ช่วงที่ 1
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอสรุปได้ดังนี้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้อนุวัตนัย
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 39/2549 เมื่อวันที่ 2
กุมภาพันธ์ 2549
ดำเนินการตรวจราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ช่วงที่
1 (ตุลาคม 2548
มีนาคม 2549) ใน 2 ส่วน
คือ ส่วนที่ 1
เป็นการตรวจติดตามโครงการในเชิงพื้นที่
(Area)
ตามยุทธศาสตร์การพัฒนา
กลุ่ม
จังหวัด/จังหวัด และส่วนที่ 2
เป็นการตรวจ
ติดตามและ/หรือประสานงานกับผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ได้ผล
การตรวจราชการแบบบูรณาการตามประเด็นยุทธศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์การขจัด
ความยากจน และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
โดยมีผลการตรวจ/
ติดตาม
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
1.1 สภาพปัญหาและสถานการณ์ความยากจน จากข้อมูลการจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ
ณ
วันที่ 21
เมษายน 2549 มีผู้มาจดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน (สย.)
ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งสิ้น
12,836,374 ราย และจากผลการกลั่นกรอง
(Verify)
มีผู้ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ
(Want) จำนวน 6,612,453
ราย
และผู้ต้องการ
ความช่วยเหลือ (Need)จำนวน 6,223,921 ราย
ซึ่งได้รับความช่วยเหลือเสร็จ
สมบูรณ์แล้ว 2,042,622 ราย
อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
จำนวน
2,206,829 ราย
และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ
1,974,470 ราย ทั้งนี้
ได้กำหนด
ปัญหาในภาพกว้างครอบคลุมเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความยากจน
ไว้หลายด้าน
เพื่อจะได้ช่วยเหลือ
และแก้ไขให้ตรงกับสภาพปัญหาเหล่านั้นได้แก่
ที่ดินทำกิน
คนเร่ร่อนประกอบอาชีพผิดกฎหมาย
นักเรียน นักศึกษา
มีรายได้อาชีพเหมาะสมการ
ถูกหลอกลวง
หนี้สินภาคประชาชน
ที่อยู่อาศัย
และด้านอื่น ๆ
สำหรับ
ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
ของคนในครัวเรือนมีรายได้
เฉลี่ย
ไม่ต่ำกว่า คนละ 20,000 บาทต่อปี
(ครัวเรือน) และเป้าหมายการให้ความช่วย
เหลือผู้ตรวจ
ราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ไปกระตุ้นเร่งรัด
ให้การดำเนินการเป็นไป
ตามเป้าหมาย
ในการ
ตรวจ/ติดตามช่วงที่
2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2549 ต่อไป
1.2
แผนงาน/งาน/โครงการและงบประมาณที่ใช้เครื่องมือในการแก้ไข
ปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1
เป็นแผนงาน/โครงการและงบ
ประมาณตามแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549 จำนวน 1,075
แผน
งาน/งาน/โครงการงบประมาณจำนวน 5,555.96
ล้าน
บาท และส่วนที่ 2
เป็นแผนงาน/งาน/
โครงการ/งบประมาณจากส่วนกลาง
ที่จัดสรรลง
สู่จังหวัดต่าง
ๆ จำนวนทั้งสิ้น
113 โครงการ
งบประมาณ
จำนวน 69,981.25 ล้านบาท
1.3 ปัจจัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้แก่
องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
(อปท.) สนับสนุนโดยจัดสรรงบประมาณ
ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ
อปท.
เอง
เนื่องจากเป็น
หน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่รู้ปัญหา
และความต้องการของประชาชน
มากที่สุดมีการจัดทำแผนชุมชน
พึ่งตนเองพร้อมที่จะแปลงไปสู่การปฏิบัติได้
การจัดทำ
และพัฒนาระบบ
GIS
(Geographic
Information System)
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ
ในการแก้ปัญหาความความเดือดร้อน
และความยากจน
1.4 ปัญหาอุปสรรคและข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ
1.4.1
ในการสำรวจและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความยากจน
มีหลาย
หน่วยงานรับผิดชอบ
ได้แก่ กรมการปกครอง (ข้อมูลผู้จดทะเบียน สย.)
กรมการพัฒนา
ชุมชน ข้อมูล
จปฐ.
และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
(ข้อมูลผู้มีรายได้เฉลี่ยใต้เส้น
ความยากจน)
ดังนั้น
เพื่อประโยชน์
ในการแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ครอบคลุม
กลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
กระทรวงมหาดไทย
โดย
ศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะ
ความยากจนกรมการปกครอง (ศตจ.ปค.)
ควรมีการบูรณาการ
ข้อมูล และการดำเนิน
การในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดทะเบียนเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสังคมยากจน
เชิงบูรณาการ
ควรต้องครอบคลุมผู้ที่จดทะเบียนคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์
จปฐ.
ในจังหวัดทั้งหมด
และครอบคลุมผู้ที่เป็นคนจน
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติ
แห่งชาติไว้ด้วย
และที่สำคัญ
ต้องมีข้อมูลคนจนหรือครัวเรือนยากจนที่กระจายตัว
อยู่ในพื้นที่ ต่าง ๆ
ทั้งนี้
เพื่อให้
การติดตามตามมาตรการช่วยเหลือสอดคล้อง
กับความต้องการของคนจน และตรงกับพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งควรมีการวางกรอบ
และแนวทางการเก็บข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตลอดจนมีการส่งถ่ายข้อมูล
ระหว่างส่วนภูมิภาค กับส่วนกลางผ่านระบบ IT
อย่างเป็นรูปธรรม
1.4.2.
ในส่วนของโครงการที่แก้ปัญหาความยากจนไม่ตรงกลุ่ม
เป้าหมาย
และมีความซ้ำซ้อน ในการให้ความช่วยเหลือ
เป็นเพราะบางอำเภอใน
บางจังหวัดไม่ได้มีการคัดกรอง
และตัดยอดผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วออกจาก
กลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น
ในการแก้ไขปัญหา
ดังกล่าว ศูนย์อำนวยต่อสู้เพื่อเอาชนะ
ความยากจนแห่งชาติ
(ศตจ.ชาติ) ศูนย์อำนวยการต่อสู้
เพื่อเอาชนะความยากจน
กระทรวงมหาดไทย
(ศตจ.มท.) และศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะ
ความยากจน
กรมการปกครอง
(ศตจ.ปค.) และกรมการพัฒนาชุมชน
ควรกำหนดแผนงาน/งาน/
โครงการที่จะแก้ปัญหาความยากจน
โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่มีการจดทะเบียน
การแก้ไข
ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ
หรือที่มีการสำรวจครัวเรือน
ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์
จปฐ. ไว้
โดยเลือกกิจกรรมที่ช่วยเหลือให้สอดคล้อง
กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
และ
หน่วยงาน
ต่าง ๆ
ที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง
กับยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนควรร่วมกัน
กำหนดเป้าหมายบูรณาการแผนงาน/
งาน/โครงการและแลกเปลี่ยนทรัพยากร
เพื่อแก้ปัญหาความยากจน
ซึ่งน่าจะมีผล
โดยตรงที่จะลดจำนวนผู้ต้องการความช่วยเหลือหรือผู้ยากจนจากทะเบียนหรือข้อมูล
ที่สำรวจไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4.3
การจัดทำโครงการของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดจะมุ่งเน้นการตอบ
สนอง
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดเป็นสำคัญ
ดังนั้น
การที่จังหวัด
พิจารณาความ
เชื่อมโยงโครงการเข้ากับประเด็นยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
จึงมีความเข้าใจที่แตกต่าง
และมีความหลากหลาย
ซึ่งวิธีการพิจารณาควร
Matching
เป้าประสงค์ของโครงการ
กับเป้า
ประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
และอยู่ในกรอบของการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และขยายโอกาส
และกลุ่มเป้าหมาย
ของโครงการที่เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนหรือผู้ที่ทางราชการได้ทำการสำรวจเป็นผู้ยากจน
ไว้
และเห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงมหาดไทย และ คณะกรรม
การพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รับไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
1.4.4
ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา
ความยากจน
(1)
การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่
ได้ตั้ง
งบประมาณสนับสนุน แก้ปัญหาความยากจนในด้านที่อยู่อาศัย
ด้านที่ดิน
และด้านการประกอบ
อาชีพ
ดังนั้น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรให้ความสำคัญ
กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้จด
ทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน
(สย.)ไว้ใน 3 เรื่อง
ดังกล่าว
พร้อมกับเก็บข้อมูลไว้เพื่อใช้ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ
ต่อไป
(2)
การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง มีวิวัฒนาการ
และมาตรฐาน
ที่แตก
ต่างกันกรอบและรูปแบบการจัดทำแผนส่วนใหญ่
มีลักษณะที่เป็นแผน
ของทาง
ราชการมากกว่าแผนชุมชน ดังนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่
ศูนย์อำนวยต่อสู้เพื่อเอา
ชนะความยากจนแห่งชาติ
(ศตจ.ชาติ)
และกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย
ควรมีการจัดตั้ง
คณะทำงานประสาน
การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง
ระดับจังหวัด
อำเภอเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน
ทั้งนี้
เพื่อเป็นการยกระดับ
คุณภาพ
ของแผนชุมชนให้เป็นแผนของชุมชนอย่างแท้จริง
(3)
ระบบข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะระบบ GIS
(Geographic
Information System)
บางจังหวัดไม่ให้ความสำคัญกับการนำระบบ
ข้อมูลสารสนเทศ GIS
มาใช้
กับการแก้ไขปัญหาความยากจน
เท่าที่ควร
และในแต่ละ
จังหวัดมีการจัดทำและพัฒนาระบบ GIS
แตกต่างกัน
ค่อนข้างมาก
ดังนั้น
กระทรวงมหาดไทย
จึงควรสนับสนุน
ให้จังหวัดเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล
สารสนเทศให้มีมาตรฐานทัดเทียมกันโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
2.1
แผนงาน/งาน/โครงการและงบประมาณที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์
การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
แผนงาน/งาน/
โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
ที่อยู่ในความ
รับผิดชอบของหน่วยงาน
ในสังกัด กระทรวง/กรุงเทพมหานคร
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549
จำนวน 184 โครงการ
งบประมาณรวม 31,403.66
ล้านบาท
และแผนงาน
/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา
กลุ่มจังหวัด/จังหวัด
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549 จำนวน
1,063 โครงการ งบประมาณ
รวม 4,457.91
ล้านบาท
2.2
ผลการตรวจติดตามการดำเนินงานของกระทรวงและของผู้ตรวจราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี จากแผนงาน/งาน/โครงการของกระทรวง/กรุงเทพมหานคร
(Function)
และจากการตรวจติดตามแผนงาน/งาน/โครงการ
ภายใต้ยุทธศาสตร์
การพัฒนากลุ่มจังหวัด/
จังหวัด (Area)
ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา
คนและสังคมที่มีคุณภาพ
สรุปโดยรวมได้ว่า
หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/โครงการสอดคล้องกับเป้า
ประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าวและได้จัดทำแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจ
ราชการกระทรวงให้สอดรับกับ
ประเด็นยุทธศาสตร์ฯเพื่อการติดตามผลตามภารกิจ
ที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยผลจากการตรวจติดตามแผนงานฯ
ในช่วงที่ 1 ของผู้ตรวจราชการกระทรวงนั้น
มีแนวโน้มว่าแผนงาน/งาน/โครงการ
ของหน่วยงาน
ที่รับการตรวจเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ
ในการพัฒนาคน
และสังคม
ให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และสังคม
ของโลกในปัจจุบันซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจติดตามแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้
ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด
(Area)
ของ
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่พบว่าจังหวัด
ได้ให้ความสำคัญ
กับยุทธศาสตร์การพัฒนา
คนและสังคมที่มีคุณภาพ
เป็นลำดับต้นด้วยเช่นเดียวกัน
2.3
ข้อสังเกตจากการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
2.3.1
การพิจารณางบประมาณโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนา
จังหวัด/
กลุ่มจังหวัด
ที่ตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องการพัฒนาคน
และสังคมที่มีคุณภาพ
ได้แก่
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์
สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม
และพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจ
การเสริมสร้างสุขภาวะของ
ประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ
มาตรฐาน
การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม
(ข้อ ก ข ค และ ง )
กระทรวงมหาดไทยควรจะได้มอบหมายให้กลุ่มจังหวัด/จังหวัดติดตาม
สถานการณ์
ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
เพื่อพิจารณาผลของการเปลี่ยน
แปลงและจัดทำแผนงาน/งาน/โครงการ
ให้สามารถตอบสนองความต้องการ
และแก้ไข
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในแต่ละพื้นที่
รวมทั้งจะต้องมีการขยายผล
การดำเนินงานในการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ใน
ทุกเรื่อง
ได้ต่อไปในอนาคต
2.3.2
ในเรื่องของเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand)
เป็นเรื่อง
ที่สำคัญ
ในการยกระดับคุณภาพชีวิต
เป็นการพัฒนาคนและสังคมที่เน้นลงไปถึงระดับ
หมู่บ้าน
โดยเน้น
ใน 3
ส่วนหลักคือ สุขภาพอนามัย การศึกษา และชุมชนเข้มแข็ง
ซึ่งปี พ.ศ. 2549
เป็นปีเริ่มต้น
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
และกระทรวง
ศึกษาธิการ
จึงควรให้ความสำคัญและ
ติดตามการดำเนินการในเรื่องนี้
ซึ่งแม้ว่าจะมี
หมู่บ้านเป้าหมายที่จะสนับสนุนไม่มากนัก
ในแต่ละ
จังหวัด
แต่ในเรื่องเมืองไทยแข็งแรง
ก็ได้ถูกกำหนดไว้เป็น
ตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด
และจะต้องมี
การขยายผลต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้
จากรายงานผลการตรวจติดตามของผู้ตรวจ
ราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
พบว่าบางจังหวัดยังค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ซึ่งเป็นเป้าประสงค์หนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาคนฯ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวด้วย
ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและสนับสนุนยุทธศาสตร์
ในการดำเนินงาน
ของกระทรวงและการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการกระทรวง
และผู้ตรวจราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ 2 (เมษายน กันยายน
2549)
เห็นควรนำข้อมูลที่ได้รับ
จากกระทรวง (Function)
และการตรวจราชการของผู้ตรวจ
ราชการกระทรวงมาวิเคราะห์
พิจารณาจัดทำรายงานผลการตรวจติดตามภาพรวมร่วม
กับของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ในเชิงพื้นที่ (Area)
ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ปัญหา
อุปสรรค ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ
ระบบงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น แผนชุมชนความร่วมมือ
ของ อปท.
และระบบสารสนเทศพร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหา
อุปสรรคที่เกิดขึ้น
ใน
ช่วงที่
1
เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ต่อไป
เรื่องที่ 16
ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร
และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (โอนภารกิจเกี่ยวกับโครงการโขง ชี
มูล
ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมให้แก่ กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
|
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร
และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ.
2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(โอนภารกิจ เกี่ยวกับ
โครงการโขง ชี มูล
ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ให้แก่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
ตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่ง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
มีสาระสำคัญดังนี้
1.
ให้พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
2.
เพิ่มความ โครงการโขง ชี มูล ยกเว้นส่วนที่โอนไปเป็นของกรมทรัพยากรน้ำ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
เป็น
(ค) ของมาตรา 42
แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่
ของส่วน
ราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม
พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545
เรื่องที่ 17
ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร
และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(โอนอำนาจหน้าที่การกำกับดูแล
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จากนายกรัฐมนตรี
ไปเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
|
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร
และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ.
2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(โอนอำนาจหน้าที่การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จากนายกรัฐมนตรีไปเป็น
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) ตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
มีสาระสำคัญดังนี้
1.
ปรับปรุงแก้ไขมาตรา 160
แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร
และอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ.
2545
2.
แก้ไขมาตรา 85 และมาตรา 86
แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติ
ให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ.
2545
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ชี้แจงว่า
1.
พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา
160
กำหนดให้โอนอำนาจ
หน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.
2540
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปเป็น
ของนายกรัฐมนตรี
2.
พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545
พ.ศ.
2545
มาตรา 85 บัญญัติให้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2540
ให้แก้ไข
คำว่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็น
นายกรัฐมนตรี
และมาตรา 86
บัญญัติ
ให้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.
2540 ให้แก้ไขคำว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ
เป็น
นายกรัฐมนตรี
3.
กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า
การดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยสงฆ์
ทั้ง 2 แห่งนั้น
มีสถานะเป็นสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้น
ตามพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.
2540 มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ
จึงควรอยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษา
ทั้งนี้
เพื่อให้สถาบันการศึกษาทั้ง 2
แห่ง
ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ
เช่นเดียว
กับสถาบันการศึกษาอื่น
ๆ
ตามมาตรา 31 แห่ง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
จึงจำเป็นต้องปรับปรุง
แก้ไขมาตรา
160 แห่งพระราชกฤษฎีกา
โอนกิจการบริหาร
และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545
พ.ศ.
2545
และมาตรา
85 และมาตรา 86
แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไข
บทบัญญัติ
ให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545
พ.ศ.
2545
เพื่อให้โอนอำนาจหน้าที่
การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์
ราชวิทยาลัย
จากนายกรัฐมนตรีกลับไปเป็น
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดังเดิม
4.
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการประชุมครั้งที่ 11/2548
เมื่อวันที่ 22
พฤศจิกายน
2548 มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงแก้ไขมาตรา 160
แห่งพระราชกฤษฎีกา
โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง
ทบวง
กรม พ.ศ. 2545
พ.ศ.
2545
และแก้ไขมาตรา 85 และมาตรา 86
แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไข
บทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง
ทบวง กรม
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2545 ทั้งนี้
เพื่อให้โอนอำนาจหน้าที่การกำกับดูแล
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
จากนายกรัฐมนตรีกลับไปเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดังเดิม
การขอจัดสรรงบประมาณผูกพันข้ามปี
สำหรับระบบการบริหารยุทธศาสตร์
ขององค์การภาครัฐ
|
หมายเหตุ : วาระดังกล่าวไม่มีการรายงานมติคณะรัฐมนตรีในเว็บไซต์รัฐบาลไทย (www.thaigov.go.th)
E-Searching
เพิ่มเติมได้ที่ คลิกที่นี่ |