The Toyota Way : วิถีแห่งโตโยต้า |
การไปศึกษาดูงานของ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ของระบบราชการ ในครั้งนี้เป็นความพยายามในการรวบรวมต้นแบบหน่วยงานที่มีการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ และวัฒนธรรม ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับภาคราชการต่อไป ซึ่งบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เนื่องจากได้มีแนวคิด การพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ส่วนแบ่งตลาดเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ |
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2505 มีเงินทุนจด ทะเบียนเริ่มต้น 11.8 ล้านบาทและมีเงินทุนจดทะเบียน ในปัจจุบัน 7,520 ล้านบาท มีพนักงานทั้งหมด12,000 คน มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยร้อยละ42ซึ่งเป็น อับดับ 1 ของประเทศไทย เนื่องจากประสบความสำเร็จ ในการทำตลาด ในเมืองไทยและ เป็นอันดับ 3 ในเครือ บริษัท TOYOTA ทั่วโลก ทั้งนี้เครือ บริษัท TOYOTA มีส่วนแบ่งการตลาด ในระดับโลกเป็นอันดับ 2 รองจาก บริษัท General Motor ของสหรัฐอเมริกาซึ่งความ สำเร็จ นี้มาจากการปรับปรุง ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง นั่นเอง |
คุณวิเชียร เอมประเสริฐสุข
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ วิทยากรบรรยาย |
|
การบริหารงานของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ใช้การบริหารงานง่าย ๆ คือ PDCA : Plan-Do-Check- Act หมายความว่า ทุกขั้นตอนการผลิตต้องมีการวางแผนการดำเนินงาน การตรวจสอบ และนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แต่จุดเด่นของการดำเนินงานอยู่ที่ระบบที่ถูกออกแบบให้ทุกคนตระหนักถึงหลักการบริหารดังกล่าว ซึ่งในสายการผลิตนั้น พนักงานจะมีแบบฟอร์มที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพงานกำกับการทำงานทุกขั้นตอน และนำ PDCA มาใช้อย่างจริงจัง
|
|
|
|
สำหรับแนวคิด วิถีแห่งโตโยต้า หรือ The Toyota Way หมายถึง ปรัชญาการทำงาน พฤติกรรมนิยม และวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรการปลูกฝังจนให้กลายเป็น DNA ของพนักงานทุกคน มีหัวใจสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1. ความท้าทาย (Challenge)
2. ไคเซ็น (Kaizen)
3. เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
4. การยอมรับนับถือ (Respect)
5. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
|
|
ความท้าทาย (Challenge)
ความท้าทาย (Challenge) คือ การสร้างวิสัยทัศน์ระยะยาวและบรรลุความท้าทายด้วยความ กล้าหาญ ความท้าทายของ TOYOTA คือ การพยายามผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้มี คุณภาพ
|
|
ไคเซ็น (Kaizen)
ไคเซ็น (Kaizen) คือ การปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และผลักดันนวัตกรรมใหม่ และวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการทำ Kaizen ของ TOYOTA เช่น การปรับปรุงการขันน็อต ล้อ รถยนต์ โดยการทำให้มีสีติดตรงเครื่องมือขันน็อต ซึ่งหากพนักงานขันน็อตแน่นพอ จะทำให้สีนั้นติด ที่หัวน็อต เป็นการยืนยันว่าได้ขันน็อตให้ล้อแน่นแล้ว
|
|
กุญแจแห่งความสำเร็จของ KAIZEN
KAI คือ Continuous
ZEN คือ Improvement
ดังนั้น KAIZEN เท่ากับ Continuous Improvement คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องภายใต้
กระบวนการ Plan-Do-Check-Act คือ การดูปัญหา วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่า แก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีการทำ Kaizen กันทุกวัน คือ ปรับปรุงไปเรื่อย ๆ รายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากมีการทดลอง ทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทำให้ดีขึ้น ก็จะปรับปรุง
|
|
เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu) คือ การไปยังต้นกำเนิดเพื่อค้นหาความจริง ทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ถูกต้อง สร้างความเป็นเอกฉันท์ และบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว Genchi Genbutsu มีหลักพื้นฐานคือ การไปให้ถึงที่จริงและเห็นของจริง คือ Go to see หรือ Go and see เพื่อให้รู้ต้นเหตุของปัญหาจริง ๆ เช่น ผู้บริหาร TOYOTA จะต้องเดินทางไปหา Dealer ใน ต่างจังหวัด ทุกเดือน เพื่อให้เห็นปัญหาข้อเท็จจริง และจะได้พูดคุยกับต้นตอของปัญหา เพื่อสร้างฉันทามติการ รับรอง รับรู้ร่วมกันได้
|
|
การยอมรับนับถือ (Respect)
การยอมรับนับถือ (Respect) คือ การเคารพและให้การยอมรับผู้อื่น รวมทั้งพยายามทุกวิถี ทางเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน แสดงความรับผิดชอบ และปฏิบัติอย่างดีที่สุดเพื่อสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน
|
การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
การทำงานเป็นทีม (Teamwork) คือ การกระตุ้นบุคลากรและการเจริญเติบโตในสายอาชีพ แบ่งปันโอกาสในการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดสำหรับรายบุคคลและทีม
|
|
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การบริหารความรู้ของ Toyota ซึ่งในโรงงานจะมีมุม ความรู้ที่เต็มไปด้วยข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น สถิติอุบัติเหตุ ความรู้เรื่องเทคโนโลยี เป็นต้น และทุก ๆ เช้าจะมีรายการ Morning Talk ใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยพนักงานจะแบ่งเป็นทีม ๆ ละ ประมาณ 10 คน และหาเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่พบในการทำงาน หรือความ ผิดพลาดที่เกิดขึ้น
|
สิ่งสำคัญที่ Toyota มุ่งเน้น คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ Total Quality by Quality People ดังนั้น Toyota จึงได้จัดตั้ง Toyota Academy ขึ้นในหลายประเทศ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอด
ความรู้ ทำให้การบริหารงานแบบ Toyota เป็นภาษาสากลที่เข้าใจตรงกัน
|
|