www.opdc.go.th

      สวัสดีค่ะ  ครบรอบ 1 ปี
ของการสื่อสารสาระการพัฒนา
ระบบราชการ ผ่านสื่ออิเลค -
ทรอนิคส์ของสำนักงานก.พ.ร.
ทีมงานทุกคนต้องขอขอบคุณ
ทุก ๆ ท่านที่ ติชม และแสดง
ความคิดเห็นกันเข้ามาด้วยค่ะ
ดังนั้น e-newsletter   ฉบับ
ปฐมฤกษ์ปี 2549 จึง นำเอา
สาระ จากกิจกรรมต่าง ๆ ของ
สำนักงาน ก.พ.ร. ที่จัดขึ้นให้
ทุกๆ ท่านได้ติดตามกัน สาระ
ต่างๆ พร้อมอยู่บนหน้าจอท่าน
แล้วค่ะ ซินเจียยู่อี่ ชินนี้ฮวดไช้
กันถ้วนหน้านะคะ ...

 

e-news ย้อนหลัง

 

“No Right Answer but
Choice Answer”

กุญแจสำคัญในการบริหารราชการ
แบบมีส่วนร่วม

        เมื่อวันที่ 9 - 12 มกราคม ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร.โดยการสนับสนุนจาก ASEM Trust Fund ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคมเพื่อ การบริหาร ราชการแบบมีส่วนร่วม” (Public Forum and Deliberative Dialogue to Enhance Participatory Governance)     ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยยุคใหม่
ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร

        การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกาเป็นวิทยากร ได้แก่ Sandra S. Hodge, Ph.D.  ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะ จาก University of Missouri และ Taylor  Willingham ผู้อำนวยการ Texas Forums โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการที่สังกัด ในกระทรวง ต่าง ๆ สถาบันอุดม ศึกษา องค์กรอิสระ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วม สัมมนา



          การสัมมนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการศึกษาหลักสูตรการบริหารภาครัฐ เพื่อ พัฒนาขีีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐ” ซึ่งเกิดจากการตระหนักถึงความสำเร็จ    ในการพัฒนา ระบบราชการที่ี่ไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่การกำหนด รายละเอียดของรูปแบบปฏิบัติราชการ การหาวิธีการ ปรับปรุงการปฏิบัติราชการ ที่เหมาะสม ตลอดจนวิธี การดำเนินการในการปรับเปลี่ยน การทำงาน และการให้บริการสาธารณะเท่านั้น แต่ ปัจจัยสำคัญ ประการหนึ่งคือการพัฒนาขีดความสามารถและความรู้ ความเข้าใจตลอดจนรูปแบบและเทคนิค การบริหาร ราชการใหม่ ๆ ให้ แก่ข้าราชการ


ดร. อรพินท์ สพโชคชัย
ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการเผยแพร่
และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ
และ
รศ.ดร.พัชรี สิโรรส อ.ก.พ.ร. เผยแพร่ฯ
           
           สำหรับเนื้อหาของการสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วย 7 หัวข้อหลัก (section) ซึ่ง วิทยากรทั้งสองท่านจะมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งทางด้านเทคนิค และกระบวนการ โดยการฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันจากกรณี ศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำ ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้จริงในประเทศไทยตามลำดับ ดังนี้
             
               1. Understanding the Types of Problems that Requires Citizens to Act Together
               2. Addressing Complex Public Issues
               3. Strategies for Promoting Deliberation
               4. Organizing your Forum
               5. The Practice Forum
               6. What the Forum Produces
               7. Framing Public Issues



  
  Sandra S. Hodge, Ph.D.
ได้ปูพื้นฐานความรู้  ความเข้าใจ แก่ ผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยเริ่มต้นจาก “ปัญหาสาธารณะ” ซึ่งเป็น ที่มาของการนำการมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ ในการบริหาร จัดการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาคประชาสังคมโดยตรง เนื่องจาก การมีส่วนร่วมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพการพึ่ง ตนเองของประชาชน และยอมรับในวิถีของการแก้ปัญหา และ ขจัดความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

   Sandra อธิบายโดยสรุปว่า “ปัญหาสาธารณะ” มีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มใหญ่ จึงเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ปัญหาสาธารณะจะมีส่วน เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในระดับบุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งมองว่าตัวเขานั้นมีสิทธิและผล ประโยชน์จากผลกระทบ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ปัญหาสาธารณะ อาจมีความจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากคนจำนวนมาก แม้ว่าคนเหล่านั้นจะมี ความเห็นที่ตรงกันหรือแตกต่างกันก็ตาม

                              

        เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีความเข้าใจในการระบุ “ปัญหา” ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น Sandra ได้ให้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิเคราะห์ แยกแยะประเภทของปัญหา ทั้งการฝึกวิเคราะห์แบบเดี่ยวและแบบ กลุ่ม เช่น การให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเขียนปัญหาลงบนกระดาษ คนละหนึ่งปัญหา การแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยจัดสภาพปัญหาตามกลุ่มประเภทเป็น Type I, Type II, Type III จากนั้นจึงอธิบายเพิ่มเติมถึงลักษณะของปัญหาสาธารณะ ประเภทของปัญหาและวิธี การแก้ไข ทั้งนี้ ลักษณะของปัญหาสาธารณะจะเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี โครงสร้าง สังคมอันเกิดจากความแตกต่างในการให้คุณค่า  ความเชื่อ   วัฒนธรรมวิถีชีวิต และ มุมมองของแต่ละบุคคลการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับการให้คำจำกัดความของปัญหาตลอดจนมุมมองที่มีต่อปัญหา ซึ่งในปัญหาเดียวกันนั้น แต่ละคนจะมองเห็นแตกต่างกันเปรียบเสมือนกับ คนในองค์กร ที่ย่อมมองปัญหาแตกต่างจากคนภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญ ประการหนึ่งคือ เครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา

                         

            

สำหรับประเภทของปัญหานั้น แบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคนิค ปัญหาเรื่องการให้คุณค่า และการขาดมุมมองในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค จะแก้ไขได้ด้วยการตัดสินใจทางเทคนิค ทั้งนี้ การตัดสินใจในโครงการขนาดใหญ่ส่วนมากที่เกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ มักไม่ใช่การตัดสินใจทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการตัดสินใจในด้านคุณค่าโดยอาศัยข้อมูลทางเทคนิคเข้ามาช่วย   เช่น การสร้าง ท่อก๊าซไทย - มาเลเซีย การแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร ที่จำเป็นต้องก่อสร้าง โครงการขนส่งขนาดใหญ่เพื่อบรรเทาปัญหา ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ขณะเดียวกัน ก็ต้องรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้บริการ ขนส่งสาธารณะ ปัญหาเรื่องการให้คุณค่าเป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้หลักเหตุผล “Cause - Effect”

ปํญหาเรื่องการขาดมุมมองในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เราจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการจัดการปัญหา ที่ถูกต้องและดีที่สุด

             ทั้งนี้ ในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาสาธารณะ อาจนำกรอบของ Six Democratic Practices ไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ ดังนี้
               1. Naming การกำหนดว่าอะไรคือปัญหาที่เราประสบ
               2. Framing อะไรคือบริบทที่เกี่ยวข้อง
               3. Deliberating สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หากเราดำเนินการในสิ่งที่ตัดสินใจ
               4. Committing อะไรคือสิ่งที่ควรดำเนินการ
               5. Public Acting ใครคือผู้รับผิดชอบในสิ่งที่จะดำเนินการ
               6. Civic Learning เราจะไปสู่ความต้องการของเราอย่างไร

อย่างไรก็ตาม Sandra ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “เมื่อไรที่มีความแตกต่างมาก เช่นการอยู่กันคนละ ฝ่ายอย่างสุดโต่ง เรามักจะคิดว่าฝ่ายตรงข้ามไร้เหตุผล ขณะที่คนที่มีมุมมองเหมือนกันจะอยู่ ู่รวมกัน ส่วนกลุ่มคนที่มีจุดยืนที่แตกต่างกันอย่างมากก็เกือบจะไม่มีการพูดคุยกันเลย... สิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในองค์กรของเราเช่นกัน”
      
     ด้าน Taylor Willingham ได้นำเสนอพื้นฐานเทคนิคการสร้าง การมีส่วนร่วม คือ “Deliberation” โดยกล่าวว่า Deliberation เป็น พื้นฐานของประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ ้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหรือ แก้ไขปัญหาจากการแสดงความคิดเห็น ดังนั้น กระบวนการที่เรียกว่า Deliberation จึงเต็มไปด้วยความ ระมัดระวังและการตัดสินใจ ที่รอบคอบ เป็นการดำเนินงานในทางสร้างสรรค์ ที่มุ่งเน้นการสื่อสาร สองทางและมีความยั่งยืนกว่าเทคนิคการทำประชาพิจารณ์ที่คน ทั่วไปรู้จัก
             สำหรับเทคนิควิธีที่จะสะท้อนว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมาก น้อยเพียงใด Taylor ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนภาพประกอบสองภาพ ภาพหนึ่งเป็นการโต้แย้ง หรือ การโต้วาที (Debate) และอีกภาพหนึ่งเป็นการเสวนา (Dialogue) จากนั้นจึงให้ผู้แทนแต่ละ กลุ่มนำเสนอว่า ทั้งสองประเด็นมีความแตกต่างกันอย่างไร และให้ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ จริงในประเทศไทยว่า เหตุการณ์ใดสอดคล้องกับ Debate และเหตุการณ์ใดสอดคล้องกับ Dialogue ซึ่งโดยสรุปแล้ว ความแตกต่างระหว่าง Debate และ Dialogue ก็คือ Debate จะเป็น การคิดแบบโต้แย้ง เช่น การสนทนาของผู้เข้าร่วมรายการ “ถึงลูกถึงคน” ส่วน Dialogueเป็นการ คิดแบบประณีประนอม เช่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนา

หลังจากที่ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจ
พื้นฐานแล้ วิทยากรทั้งสองท่าน ได้นำเสนอกรอบความคิดที่เกี่ยวข้องกับ การมี ส่วนร่วมและแนวทางการปรึกษาหารือกับภาค ประชาสังคม โดยเฉพาะกระบวนการซึ่งเปิด โอกาสให้ประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ได้แสดงทัศนะและความคิดเห็น และมีการนำ ความคิดเห็นดังกล่าว ไป ประกอบในการ กำหนดนโยบายและการ ตัดสินใจของรัฐการมี ส่วนร่วมจึงมีอยู่ เกือบทุกกิจกรรมของสังคม ขึ้นอยู่กับ ความสนใจของประชาชนที่มีต่อ กิจกรรม และกิจกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ ประชาชนมากน้อยเพียงใด ประกอบกับ เงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ของประชาชนคือประชาชนต้องมีีอิสรภาพ ความเสมอภาค และมีความสามารถในการ เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ ยังต้องมี วัตถุประสงค์ มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ดำเนินไปได้ด้วย ความเรียบร้อย ทั้งนี้


     

เทคนิคการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย

   เทคนิคการให้ข้อมูลข่าวสาร เช่น วารสาร ประกาศ จดหมายข่าว
   เทคนิครวบรวมข้อมูลข่าวสาร เช่น การประชุมกลุ่มย่อย การสำรวจความคิดเห็น
   เทคนิคการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการปฏิสัมพันธ์ เช่น การทำประชาพิจารณ์ การประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ การประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ

      ดังนั้น การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมจึงมี ี  ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ  

        สาธารณชน “มีส่วนร่วม” ในการตัดสินใจ  

        มีการให้ข้อมูลต่อสาธารณชน และเปิดโอกาสให้ ้     สาธารณชนได้แสดงความคิดเห็น

      “ค่านิยมและความห่วงกังวล ข้อเสนอแนะของ      สาธารณชน” ได้ถูกนำไปเป็นข้อมูลประกอบของ      การตัดสินใจขององค์กรภาครัฐ

      มีการสื่อสารสองทางมีปฏิสัมพันธ์ มีการเสวนา      และการประสานความร่วมมือทั้งนี้หากการตัดสินใจ      ขององค์กรภาครัฐแตกต่างกับ ข้อเสนอแนะของ      สาธารณชน จะต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับไป ยัง      สาธารณชน เพื่อ อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

          โดยสรุปแล้ว''การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม''     คือ กระบวนการซึ่งนำเอา ความต้องการและความเชื่อ  ทัศนคติหรือค่านิยมของประชาชน เข้ามาประกอบการ  ตัดสินใจ ขององค์กรภาครัฐ การมีส่วนร่วมเป็นกระบวน

           การสื่อสารสองทาง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ดี โดยมี สาธารณชนให้การสนับสนุน”

                              
    

ท้ายที่สุด   หากผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำผลที่ได้้จากการสัมมนาไปประยุกต์ใช้ในการ บริหาร ราชการนอกจากจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตย ยุคใหม่แล้วยังจะช่วยให้กระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆเป็นไปด้วยความรอบคอบ ลดความขัดแย้งในสังคม และบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนและประเทศชาติ ได้อีกด้วย