www.opdc.go.th

      สวัสดีค่ะ  ครบรอบ 1 ปี
ของการสื่อสารสาระการพัฒนา
ระบบราชการ ผ่านสื่ออิเลค -
ทรอนิคส์ของสำนักงานก.พ.ร.
ทีมงานทุกคนต้องขอขอบคุณ
ทุก ๆ ท่านที่ ติชม และแสดง
ความคิดเห็นกันเข้ามาด้วยค่ะ
ดังนั้น e-newsletter   ฉบับ
ปฐมฤกษ์ปี 2549 จึง นำเอา
สาระ จากกิจกรรมต่าง ๆ ของ
สำนักงาน ก.พ.ร. ที่จัดขึ้นให้
ทุกๆ ท่านได้ติดตามกัน สาระ
ต่างๆ พร้อมอยู่บนหน้าจอท่าน
แล้วค่ะ ซินเจียยู่อี่ ชินนี้ฮวดไช้
กันถ้วนหน้านะคะ ...

 

e-news ย้อนหลัง

 

บทสรุป CEO Retreat II

ยุทธศาสตร์...เข็มทิศนำทาง
เพื่อขับเคลื่อนการทำงานของผู้ว่าฯ CEO

          “วันนี้องค์กรในโลกยุคใหม่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ หากปราศจากนโยบาย รัฐบาล และ โครงการที่ชัดเจน งานประจำไม่สามารถจะขับเคลื่อนองค์กรไปได้ เพราะโลกหมุนเร็วกว่า งาน ประจำ ปัญหาเฉพาะหน้าจะวิ่งตามได้ทัน ดังนั้น ถ้าอยู่กับงานประจำและปัญหาเฉพาะ หน้า ก็จะล้าหลังโลกมากมาย จึงต้องอยู่กับนวัตกรรมใหม่ๆขับเคลื่อนด้วยโครงการ ต่าง ๆ…..
สิ่งที่ต้องการจากการบริหารงานแบบผู้ว่าฯ CEO คือ การบริหารงาน และการตัดสินใจ ที่รวดเร็ว เด็ดขาด โดยมียุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อมูล และอำนาจในการตัดสินใจ บนพื้นฐาน เพื่อ ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน... การทำงานถ้าไม่มี ทิศทางและยุทธศาสตร์์เขา เรียกว่ามวยวัด...”



           คำกล่าวข้างต้น คือบางส่วนในการมอบนโยบายเกี่ยวกับ การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ   พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ที่มอบแก่ผู้ว่าฯ CEO ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผู้นำการบริหาร การเปลี่ยนแปลง (CEO Retreat II)” เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบ รัฐบาล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้กว่า 400 คน ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี ปลัด กระทรวง ผู้ว่าฯ CEO ทั่วประเทศ และผู้แทนภาคเอกชน


                                                                          

           คำกล่าวดังกล่าว     สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของยุทธ- ศาสตร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการทำงานของผู้ว่าฯ CEO ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากจุด เริ่มต้น ของ CEO Retreat II ที่เกิดจากการประชุมร่วมกันของนายกรัฐมนตรีีและรอง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 โดยที่ประชุมได้มีมติให้ สำนักงาน ก.พ.ร และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จัดการประชุม เชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผู้นำการบริหารการ เปลี่ยนแปลง (CEO Retreat II)” ขึ้น เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัดแล้ว นำเสนอคณะ รัฐมนตรีต่อไปนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัด ให้มีการประชุมเตรียมความพร้อม หรือ Pre-Workshop II ในกลุ่มจังหวัด/ จังหวัดและหน่วย งาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอ แนะ จากเจ้าหน้าที่ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กับยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดและ จังหวัด รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิจาก หน่วยงานกลางที่มีความรู้ ู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 – 22 ธันวาคม 2548 และการจัด ประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละกลุ่มจังหวัดทั้ง 19 กลุ่มจังหวัด   เมื่อวันที่ 4 - 5 มกราคมที่ผ่านมา

       
             ผลที่ได้จากการประชุม Pre-Workshop นอกจากจะมีการวิเคราะห์ ทบทวนยุทธ ศาสตร์ ระดับ กลุ่มจังหวัด/จังหวัดแล้ว ยังเป็นการร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ และจัด ทำแผนงาน/ โครงการ การกำหนดรูปแบบการดำเนินงานของแต่ละยุทธศาสตร์ ตลอดจน แผนงาน/โครงการ และคำ ของบประมาณดำเนินการของกลุ่มจังหวัดในปี 2550 – 2551 ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าวเป็นการหารือ ในเบื้องต้นก่อนนำไปสู่การจัดประชุมกลุ่มย่อย ในแต่ละ กลุ่มจังหวัดทั้ง 19 กลุ่มจังหวัด เมื่อวันที่ 4 - 5 มกราคม 2549
    
    

โดยในวันที่ 4 มกราคม ผู้ว่าฯ CEO ได้ประชุมร่วมกับปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ทรงคุณวุฒิิจาก หน่วยงาน กลาง และผู้แทนจากภาคเอกชน โดยมีการแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมตามกลุ่มจังหวัด เพื่อพิจารณาทบทวน ผลการดำเนินงานที่ได้จากการจัดทำ Pre-Workshop และหาข้อสรุป ในการคัดเลือกประเด็น ยุทธศาสตร์ พร้อมแผนงาน/โครงการที่มีความสำคัญตามประเด็น ยุทธศาสตร์ (Flagship projects) ส่วนวันที่ 5 มกราคม เป็นการพิจารณากลั่นกรองยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ โดยรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลพื้นที่กลุ่มจังหวัด


  

         และในวันที่ 6 มกราคม 2548    ผู้ว่าฯ CEO  ได้นำเสนอผลที่ได้จากการประชุมในวันที่
4 - 5 มกราคม 2548 ทั้งยุทธศาสตร์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ แผนงาน/โครงการที่มีความ สำคัญ ตาม ประเด็นยุทธศาสตร์ (Flagship projects) และงบประมาณที่จะดำเนินการปี 2550 – 2551 ต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบาย แก่ผู้ว่าฯ CEO แล้ว ผู้แทนกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ได้นำเสนอภาพรวมการจัดลำดับความสำคัญ ตามประเด็น ยุทธศาสตร์ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านการเกษตร ด้านการพัฒนา อุตสาหกรรม และด้านการค้าการลงทุน โดยคัดเลือกยุทธศาสตร์ที่กลุ่มจังหวัดมีศักยภาพสูงสุด 1 - 3 ยุทธศาสตร์หลัก ๆ มาจัดทำโครงการและเสนอขอรับงบประมาณในปี 2550 ดังนี้


        
กลุ่มจังหวัดที่เลือกยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว มีจำนวน 5 กลุ่มจังหวัด ได้แก่

                   กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือล้านนา  (เชียงราย น่าน พะเยา แพร่                   แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน)
                กลุ่มจังหวัดอันดามัน (กระบี่ พังงา ภูเก็ต)
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์                   สุรินทร์)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
    
        
กลุ่มจังหวัดที่เลือกยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร มีจำนวน 8 กลุ่มจังหวัด ได้แก่

               กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (อุดรธานี หนองบัวลำภู
                  หนองคาย เลย)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ                   อำนาจเจริญ ยโสธร)
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท)
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี)
                กลุ่มจังหวัดภาคใต้ (นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง)
                กลุ่มจังหวัดอันดามัน (กระบี่ พังงา ภูเก็ต)

          กลุ่มจังหวัดที่เลือกยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม มีจำนวน 6 กลุ่มจังหวัด ได้แก่
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม                   สมุทรสาคร)
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว                   ปราจีนบุรี)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ                   อำนาจเจริญ ยโสธร)
                กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ปัตตานี ยะลา                   นราธิวาส)
       
          
กลุ่มจังหวัดที่เลือกยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการลงทุน มีจำนวน 6 กลุ่มจังหวัด
ได้แก่

                กลุ่มจังหวัดล้านนา (เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน)
                กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์)
                กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
                กลุ่มจังหวัดภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง)
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
                กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง




        ทางด้าน ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวถึงภาพรวมของการ วิเคราะห์ กลุ่มจังหวัดทั้ง 19 กลุ่มว่า จากการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มจังหวัดทั้ง 19 กลุ่ม พบว่ามี 3 กลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติคือ กลุ่มจังหวัดล้านนา     กลุ่ม จังหวัดอัันดามัน และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งกลุ่มจังหวัดทั้ง 3 กลุ่มจะได้รับการพัฒนาให้เป็น Super Cluster เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อไป

        นอกจากนี้ ยังจะได้มีการเสนอตัวช่วยการทำงานของผู้ว่าฯ CEO อาทิ การให้แต่ละ กระทรวงมอบหมายให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้ประสานงานกับผู้ว่าฯ และให้ผู้ว่าฯ แต่งตั้งภาค เอกชนและปราชญ์ชาวบ้านเพื่อร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาจังหวัด เป็นต้น

ผลที่ได้รับจากการประชุม CEO Retreat ใน ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการบูรณาการ การทำงาน ร่วมกัน ระหว่าง กระทรวง กรม กลุ่มจังหวัด และจังหวัด ภายใต้กรอบ ยุทธศาสตร์ ของรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้าใจ ในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ให้ตรงกัน

ระหว่างกระทรวง กรมและจังหวัดอีกด้วย อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงการทำงานในลักษณะ กลุ่มจังหวัด ทำให้การจัดสรรงบประมาณมีความสอดรับกับยุทธศาสตร์ ในขณะที่จังหวัดเอง ก็ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางอย่างพอเพียง และประการสำคัญนับเป็นการทำงานแบบ เครือข่ายที่เป็นการร่วมมือ ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและประชาสังคมอย่างแท้จริง