มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
|
การประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องเรียนปริญญาโท 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548 ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 2 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
|
ระบบการบริหารยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐ
(Government Strategic
Management System หรือ GSMS) |
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องระบบการบริหารยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐ (Government Strategic Management System หรือ GSMS) ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ แล้วมีมติอนุมัติในหลักการการวางและดำเนินการระบบการบริหารยุทธศาสตร์ขององค์การ ภาครัฐ (Government Strategic Management System) หรือ GSMS โดยให้ลดขนาดโครงการลง ในเบื้องต้นให้ลงทุนแต่เฉพาะ Software License และส่วนที่เกี่ยวเนื่อง และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการใช้ประโยชน์ก่อน แล้วจึงค่อยพัฒนาขยายผลไปยังส่วนต่าง ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดระบบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อบูรณาการการใช้งานร่วมกันต่อไป
|
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ชี้แจงว่า
|
1. กระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐ ครอบคลุมสามขั้นตอนสำคัญ ๆ ได้แก่ ขั้นการวางยุทธศาสตร์ ขั้นการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และขั้นการทบทวน ติดตามและประเมินผล เชิงยุทธศาสตร์ แต่โดยที่ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างเต็ม รูปแบบ ทำให้กระบวนการบริหารดังกล่าว ยังต้องอิงกับการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มเอกสารจำนวนมาก ซึ่งค่อนข้างมีความซับซ้อนในการดำเนินงาน ไม่สามารถนำยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในแต่ละ ระดับ มาปรับแต่งเชื่อมโยงหรือบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อประมวลและ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ได้อย่างเป็นระบบ และตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่ต้องการความกระชับ รวดเร็ว สามารถติดตามผลการทำงานได้ทันต่อเหตุการณ์
|
2. แม้ว่ารัฐบาลได้นำระบบ GFMIS มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ซึ่งทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานในด้านการเงิน การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบัญชี การบริหารเงินสดและเงินคงคลัง ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีมาตรฐานเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายผลระบบ GFMIS ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ รวมถึงการเชื่อมโยงให้เข้ากับระบบการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์ ์อย่างใกล้ชิด กับระบบ GFMIS แต่แยกระบบงานออกเป็นอิสระจากกัน โดยผู้ใช้งานระบบยังคงปฏิบัติงานสอดคล้องประสานกันตลอดเวลา และมีองค์ประกอบซึ่ง สามารถแยก ออกเป็น 4 ระบบ คือ (1) ระบบการวางแผนและจัดการยุทธศาสตร์ (2) ระบบการจัดทำแผนปฏิบัติการและการติดตามความก้าวหน้า (3) ระบบการจัดทำฐานข้อมูลตัวชี้วัดและการติดตามวัดผลงาน (4) ระบบการจัดเก็บเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์
|
ประโยชน์สำคัญที่คาดว่าจะได้รับจากการนำระบบ GFMIS เข้ามาใช้ ได้แก่ การขับเคลื่อนและเชื่อมโยงยุทธศาสตร์และการวัดผลการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ ตาม Balanced Scorecard ในทุกระดับเข้าด้วยกัน นับตั้งแต่ในระดับแผนการบริหารราชการแผ่นดินลงสู่การปฏิบัติราชการของกระทรวง/กรม และกลุ่ม จังหวัด/จังหวัด รวมถึงการเชื่อมต่อแผนการปฏิบัติราชการไปยังกระบวนการจัดสรรและการใช้งบประมาณ แผ่นดิน นอกจากนี้ยังช่วยในการปรับปรุงการติดตามและประมวลผลตามตัวชี้วัดผลการ ดำเนินงาน ต่าง ๆ ให้มีลักษณะเป็นในแบบ Online Real Time มากขึ้น อันจะส่งผลทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
|
3. วัตถุประสงค์ของระบบการบริหารยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐ
(1) เพื่อยกระดับขีดสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการแนวใหม่ของ
ประเทศไทยให้ ้ขึ้นสู่ความทันสมัย ในระดับ นานาชาติ
(2) เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เข้ากับระบบ GFMIS ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และส่วนต่อขยายในอนาคต อันจะช่วยทำให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงกัน เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์ของการบริหารผลการดำเนินงาน (Performance Goal) และการบริหารการเงินการคลัง (Monetary Goal) ของประเทศ
|
การปรับปรุงโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์์
|
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์ ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการให้แปรสภาพสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) และสถาบันการประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกันดำเนินการโดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปดำเนินการด้วย
|
พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) จะต้องดำรงวัตถุประสงค์เดิม ที่ไม่ให้มีการโฆษณาต่อไป โดยรัฐบาลควรเป็นผู้สนับสนุนเงินงบประมาณให้ดำเนินการอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกอากาศภาคหลักเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเดิม ที่ให้ออกอากาศภาคหลักโดยไม่มีโฆษณา ทั้งนี้ ยกเว้นเฉพาะการโฆษณาในลักษณะที่เป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ขององค์กร (Corporate Image) |
E-Searching เพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaigov.go.th/ |