เรื่อง : นวลจันทร์ แสงมณี

การยกระดับและพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ

             สวัสดีค่ะ      หลังจากที่   e-Newsletter  ฉบับเดือนกรกฎาคม เราได้พูดถึงที่มาการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปแล้ว!ฉบับนี้จึงจะขอบอกเล่าถึงความก้าวหน้าเรื่อง การเตรียมการเพื่อรองรับการพัฒนาระบบราชการในขั้นต่อไป โดยการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งจะเป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริหารงานในภาครัฐ เพื่อผลักดันให้การพัฒนาระบบราชการมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกนำเสนอการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุมชั้น 2 ตึก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา

             คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อรองรับ การพัฒนาระบบราชการในขั้นต่อไป ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทาง การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักการและแนวทางดำเนินการดังนี้

1) วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
                  (1)       ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
                  (2)      เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากล
                  (3)       เพื่อให้เป็นกรอบในการประเมินตนเอง เพื่อพัฒนาองค์การและเป็นฐานสำหรับใช้ประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ

 2) หลักการดำเนินการ
                  สร้างความเชื่อมโยงพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ รวมทั้ง การดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการใน 4 มิติ
3) กำหนดเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ    
                  โดยการนำกรอบการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้ง หลักเกณฑ์และแนวคิดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) มาศึกษาวิเคราะห์เทียบ เพื่อให้ได้เกณฑ์มาตรฐานที่สอดคล้องกับบริบทของระบบราชการไทยและพัฒนาไปสู่ระดับสากลต่อไปได้
 ทั้งนี้ ได้นำเครื่องมือนี้มาประยุกต์โดยกำหนดเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวม 7 หมวด โดยมีความเชื่อมโยงของเกณฑ์ในแต่ละหมวด ดังนี้
                  1. การนำองค์กร
                  2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
                  3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                  4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
                  5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล 6. การจัดการกระบวนการ
                  7. ผลลัพธ์การดำเนินการ

4) การดำเนินการ
                  สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เริ่มดำเนินการศึกษาและกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2547 โดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับกำหนดแผนการดำเนินการต่อไป ดังนี้

แผนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

ปี 2547
ปี 2548
ปี 2549

ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ
การบริหารจัดการภาครัฐ

วางหลักเกณฑ์รางวัล “คุณภาพการ
บริหารจัดการภาครัฐ”
(Public Sector Management
Quality Award – PMQA)

จัดวางระบบการดำเนินงานและ
การสร้างความพร้อมให้ส่วนราชการ
ต่าง ๆ

การสร้างความรู้ความเข้าใจ

การเตรียมความพร้อมให้
ส่วนราชการต่าง ๆ โดยการสร้าง
ผู้ตรวจประเมินภายในและวิทยากรตัวคูณ

เตรียมการวางระบบผู้ประเมินภายนอก

สร้างกลไกภายในสำนักงาน ก.พ.ร.

 

สนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปปฏิบัติ

สนับสนุน ส่งเสริมส่วนราชการ
ให้ยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อ
ขอสมัครเข้ารับรางวัล

ตรวจประเมิน ตัดสินให้รางวัล

เผยแพร่หน่วยงานที่มีระบบการ
บริหารจัดการที่เป็นเลิศเพื่อให้เกิด
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปยังหน่วยงานอื่น ๆ

 

                                                          
           สำหรับการดำเนินการในขั้นต่ิอไปนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เิริ่มทำการศึกษาและกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไว้แล้ว สำหรับในปี พ.ศ. 2548 จะเป็นการเตรียมพร้อมให้กับส่วนราชการ โดยได้จัดทำคู่มือสำหรับหน่วยงานภาครัฐเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง รวมทั้งการสร้างกลไลการดำเนินการภายในสำนักงาน ก.พ.ร.ให้มีความพร้อม และในปี พ.ศ. 2549 จะเป็นการสนับสนุนให้ส่วนราชการเสนอตัวเข้าสู่ระบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และเสนอตัวเข้ารับ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) ต่อไป

 5) กลไกการดำเนินงาน
                 ในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเห็นควรกำหนดกลไกการดำเนินงานดังนี้
                  คณะกรรมการกำกับการดำเนินงาน  มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
  ตลอดทั้งกำกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานดังกล่าว
                  คณะผู้ตรวจประเมิน มีหน้าที่ตรวจประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามเกณฑ์ที่กำหนด
                  หน่วยงานสนับสนุน (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้กิจกรรมและงานต่างๆ เป็นไปตามระบบนี้

                                                              E-Searching เพิ่มเติมได้ที่  http://www.thaigov.go.th/