เกาะพิทักษ์....จังหวัดชุมพร
อีกหนึ่งความสำเร็จจากความร่วมมือ
ของสำนักบริหารยุทธศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พวกเราคงทราบกันแล้วว่า ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. และเจ้าหน้าที่จากบริษัทที่ปรึกษา (บริษัททริส) ได้ลงพื้นที่เพื่อ ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 หรือ Site Visit รอบ 6 เดือนในกลุ่มจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
การติดตามดังกล่าวได้ดำเนินการครอบคลุมส่วนต่างๆ ทั้งการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบผลการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัด การติดตามและเยี่ยมชมงานบริการที่เสนอลดรอบระยะเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติงาน การติดตามแผนงาน/โครงการตามยุทธศาสตร์ที่ใช้ประเมินผลลัพธ์หรือความคุ้มค่า และการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศของจังหวัด
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ในกลุ่มจังหวัด 8.1 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ ระนอง ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ คณะได้รับทราบข้อมูลการดำเนินงานของแต่ละจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี และสะท้อนถึงผลการบริหารราชการแบบบูรณาการ (CEO) ที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะ |
|
แผนงาน/โครงการตามยุทธศาสตร์ที่ใช้ประเมินผลลัพธ์หรือความคุ้มค่าของจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ในมิติที่ 1 ระดับความสำเร็จของการประเมินผลลัพธ์ของแผนงาน/โครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด |
|
โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า โครงการพัฒนาเกาะพิทักษ์ให้เป็นเกาะสวรรค์ ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ หรือ Office of Strategic Management (OSM) จังหวัดชุมพร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดชุมพร สำนักงานโยธาธิการผังเมืองจังหวัดชุมพร ตลอดจนประชาชนในพื้นที่
โครงการพัฒนาเกาะพิทักษ์ให้เป็นเกาะสวรรค์ มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากสามารถวัดผลความคุ้มค่าทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงสังคมได้ อีกทั้งยังมีความโดดเด่นในเรื่อง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการอีกด้วย
|
นายอำพล ธานีครุฑ ผู้ใหญ่บ้านเกาะพิทักษ์ กล่าวกับคณะติดตามว่า จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากความต้องการพัฒนาให้เกาะพิทักษ์เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับประชาชนบนเกาะ ซึ่งเดิมนั้นนักท่องเที่ยวไม่กล้าเดินทางมาเที่ยวเพราะกังกลเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางและสถานที่พักแรม ในขณะที่ชาวบ้านเองก็หวาดกลัวนักท่องเที่ยว ดังนั้น การดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นในปี 2540 2542 จึงมีบ้านที่ให้บริการในรูปแบบ Home Stay เพียง 2 หลัง ต่อมาจึงได้พัฒนาโครงการในลักษณะส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบ Home Stay อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งปัจจุบันมีชาวบ้านบนเกาะร่วมเป็นผู้ประกอบการ Home Stay จำนวน 12 ครัวเรือน และกำลังพัฒนาเพื่อเป็นผู้ประกอบการอีก 6 ครัวเรือน อีกทั้งยังได้มีการขยายดำเนินงานโดยจัดตั้งเป็น กลุ่มสหกรณ์เกาะพิทักษ์ เพื่อการบริหารจัดการครอบคลุมด้านต่างๆ 6 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มแปรรูป
2. กลุ่มตลาดกลางสัตว์น้ำ
3. กลุ่มการท่องเที่ยวแบบ Home Stay
4. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลพื้นบ้าน
5. กลุ่มทำของที่ระลึก
6. กลุ่มคืนไข่ปูสู่ธรรมชาติ
ทั้งนี้ สหกรณ์เกาะพิทักษ์ยังคงมุ่งสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวแบบ Home Stay ซึ่งสหกรณ์จะเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานจัดการ โดยพิจารณาว่าบ้านใดควรเป็นผู้รับลูกค้า โดยคำนึงถึงจำนวนลูกค้า และความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ สหกรณ์จะหักค่าใช้จ่ายจำนวนร้อยละ 5 จากรายได้ทั้งหมดต่อการเข้าพักหนึ่งครั้ง และจะมีการแบ่งปันรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ทุกๆ 3 เดือน
สำหรับประโยชน์โดยตรงที่ได้รับจากโครงการดังกล่าว นอกจากจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาพัก และรายได้จากการขายของที่ระลึกอีกถึงเดือนละประมาณ 80,000 100,000 บาทแล้ว โครงการดังกล่าวยังช่วยให้ชาวบ้านเกิดความสามัคคีกันมากขึ้น โดยการแบ่งปันผลประโยชน์ การร่วมเรียนรู้ ร่วมลองถูกลองผิดและนำเอาบทเรียนมาปรับปรุงแก้ไข มีการดำรงชีวิตแบบพอเพียง และร่วมรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งทำมาหากิน ทำให้สัตว์น้ำหายาก เช่น ปลาการ์ตูน ปลาโลมา กลับคืนสู่ท้องทะเลอีกด้วย |
บ้านพักสหกรณ์
|
ผู้ใหญ่บ้านอำพลกล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวเกาะพิทักษ์ยินดีต้อนรับ ชาวสำนักงาน ก.พ.ร. ที่สนใจท่องเที่ยวบนเกาะตลอดเวลา ซึ่งนอกจากการพักผ่อนชมธรรมชาติแล้ว ชาวเกาะพิทักษ์ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่จะสร้างความประทับใจด้วย เช่น การทำอาหารร่วมกับชาวบ้าน การนั่งเรือหาปลา ดำน้ำดูปะการัง สำหรับราคาห้องพักแถมด้วยอาหารทะเลนั้น หากเป็นห้องพักชาวบ้านราคาวันละ 450 บาท/คน ส่วนห้องพักสหกรณ์ราคา 700 บาท/คน/วัน
บ้านพักชาวบ้าน
|
สำหรับการดำเนินงานตามโครงการฯ ได้มีการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เช่น เส้นทางเดินรอบเกาะ ศาลาพักผ่อน ศาลาจุดชมวิว เขื่อนกันทราย การปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาด ฯลฯ
ส่วนการประเมินผลลัพธ์ความคุ้มค่าของ โครงการพัฒนาเกาะพิทักษ์ให้เป็นเกาะสวรรค์ ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร เป็นผู้วิเคราะห์ประเมินผล โดยการเก็บข้อมูลจาก 3 วิธี คือ
1. เก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกการเข้าพัก รายได้จากการเก็บค่าบำรุงหมู่บ้าน
2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทำ Focus Group
3. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า การประเมินผลจะพิจารณาจากหลัก Cost-Effectiveness โดยพิจารณาผลลัพธ์ในทุกด้าน ทั้งโอกาสการประกอบอาชีพ การก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน การลดผลกระทบด้านสังคม การเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน และนักท่องเที่ยว |
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการประเมินผลนี้ คณะผู้ติดตามได้ตั้งข้อสังเกตว่า จำนวนงบประมาณโครงการที่ได้รับอนุมัตินั้น ผู้รับผิดชอบได้ลงทุนไปกับค่าก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ ทั้งหมด ดังนั้น ผลการประเมินจะต้องเชื่อมโยงได้ว่า สิ่งก่อสร้างดังกล่าวมีส่วนสัมพันธ์กับจำนวนรายได้ของชุมชน และความพึงพอใจของชุมชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวอย่างไร
ของที่ระลึกจาก Home Stay เ่กาะพิทักษ์
โมบายทะเล OTOP เกาะพิทักษ์ |
|
|
ด้านนายเสริมศักดิ์ วัฒนปรีชากุล ฝ่ายเลขานุการ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ จังหวัดชุมพรได้กล่าวชื่นชมสำนักงาน ก.พ.ร. ว่าแนวคิดการจัดตั้ง Office of Strategic Management (OSM) เป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่ง OSM ของจังหวัดชุมพรสามารถทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพเชื่อมโยง และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ ให้บังเกิดผล สามารถช่วยในการวัดผลการดำเนินงาน การถ่ายทอดเป้าหมายระดับองค์กรสู่ระดับหน่วยย่อยและตัวบุคคล ซึ่งโครงการพัฒนาเกาะพิทักษ์ให้เป็นเกาะสวรรค์ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความความสำเร็จดังกล่าว เพราะเจ้าหน้าที่ใน OSM จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดดังกล่าว ตลอดจนร่วมส่งเสริมให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างส่วนราชการกับชาวบ้านบนเกาะพิทักษ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาในการดำเนินงานทุกด้าน |
|