สวัสดีค่ะ  แม้ว่า เม.ย. ปีนี้
จะร้อนกว่าทุกปี e-newsletter
ก็ขอดับความร้อนของอุณหภูมิ
ด้วยเรื่องราวที่มีสาระอันมี
ประโยชน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงาน ก.พ.ร.
อย่างไรก็ตามเราก็ขอสนับสนุน
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ
สร้างสรรในทุกภาคส่วน และ
ขอเชิญทุกท่านที่ยังไม่ได้สมัคร
เป็นสมาชิกเครือข่ายร่วมคิด
ร่วมใจในการพัฒนาระบบราชการ
เพียงท่านคลิกเท่านั้นท่านจะเป็น
สมาชิกเครือข่ายทันทีค่ะ

 
e-news ย้อนหลัง

          ในการบริหารงานแบบบูรณาการ ของนักบริหารมืออาชีพ ที่ต้องการความรวดเร็ว ความเด็ดขาด การมียุทธศาสตร์ มีข้อมูล และตั้งอยู่บนพื้นฐานเพื่อประโยชน์ของประชาชน นั้นคุณลักษณะ ของผู้นำ (CEO) ถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของความสำเร็จ

           มีการกล่าวถึงคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็น CEO ไว้หลากหลาย ซึ่ง Leo.J.Hindery ( นักบริหาร ชาวอเมริกัน)ได้รวบรวมคุณลักษณะของผู้นำ (CEO) ไว้ ทั้งหมด 19 ประการ คือ

1. เป็นคนฉลาดเฉลียว การศึกษาดี และมีข้อมูล
( Bright well educated and well-informed )

2. มีจิตใจใฝ่รู้ ( An inquiring mind )

3. สามารถสื่อสารถ่ายทอดความคิดออกมาให้เห็น
เป็นภาพพจน์อย่างชัดเจน
(Articulate )

4. ตั้งใจมุ่งมั่นทำงานหนัก ( Exceptionally hardworking )

5. มีความซื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรม ( Honest and ethnical )

6. แสดงออกให้เห็นถึงการมีความเป็นธรรมและยอมรับการแข่งขัน
อย่างยุติธรรม
( Demonstrates a sense of fairness and fair play )

7. ดำรงชีวิตด้วยความโอบอ้อมอารีและรู้จักให้อภัย ( Lives life with grace )

8. รักผู้คน ( Loves people )

9. ไม่ดันทุรัง เกลียดการดูถูกเหยียดหยาม
( Hates Bigotry )

10. แสดงออกซึ่งความกล้า

( Shows courage )

11. ยอมรับความเสี่ยง (อย่างชาญฉลาด)
( Take (smart ) risks )

12. สามารถตัดสินใจเรื่องยาก ๆ ได้ภายในเวลาอันเหมาะสม
( Makes tough decisions in a timely way )

13. กระทำการบางอย่างเพื่อยอมรับความผิด ( Acts on Conviction )

14. มีความอดกลั้น (ได้ในระดับหนึ่ง)
( Demonstrates patience-up to a point )

15. รู้จักเลือกและแสวงหาคนเก่ง ( Spots talent and keeps on looking )

16. มอบอำนาจโดยปราศจากความกังวลใจ
( Delegates with out second – guessing )

17. เปิดเผยและมีความรับผิดชอบต่อบรรดากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
( Acknowledges Multiple constituencies and responsibilities )

18. รู้ว่าแต่ละเรื่องควรจะจบลงที่ใด ( Knows where the buck really stops )

19. ทนทานต่อความโดดเดี่ยว ( Tolerates loneliness )

         จากคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น จะพบว่า ระบบ CEO   ซึ่งมีต้นตอ ความคิดมาจากทางตะวันตกให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องศักยภาพความสามารถ ของบุคคลแต่ก็มิได้ละเลย ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นตัวกำกับให้เกิด ความถูกต้องแต่อย่างใด และเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ CEO แต่ละข้อแล้ว จะเห็นว่าส่วนใหญ่สอดคล้องหรือตรงกับแนวคิดทางตะวันออก ซึ่งผู้นำประเทศ ที่ยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ได้นำมาถือปฏิบัติเป็นทศพิธราชธรรม : คุณธรรมสำหรับพระราชา 10 ประการ  ได้แก่  ความซื่อสัตย์  เที่ยงธรรม (อาชวะ และอวิโรชนะ) ความเพียร (ตปะ) ความอดทนอดกลั้น (ขันติ และ อักโกธะ) ความประพฤติที่ดีงาม (สีละ) เป็นต้น และหมวดธรรมทางพระพุทธ ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เช่น ยุทธวิธีในการครองตน ครองคน และครองงาน ได้แก่


หลักพรหมวิหารธรรม
(ธรรมะ 4 ประการ สำหรับการดำรงตนของผู้ใหญ่หรือผู้มีบริวาร)
หลักสังคหวัตถุธรรม
(ธรรมะ 4 ประการ เครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้อื่นไว้)
หลักเวสารัชชกรณธรรม (ธรรมะ 5 ประการ ให้เกิดความกล้าหาญ)
หลักอิทธิบาทธรรม (ทาง 4 ประการ สู่ความสำเร็จ)

ทั้งนี้ สามารถเปรียบเทียบคุณลักษณะแต่ละด้านของ CEO กับหมวดธรรมะ
ที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้ คลิกที่นี่

อธิบายความหมายในแต่ละหมวดธรรม

อิทธิบาทธรรม (คุณธรรมให้สำเร็จความประสงค์)
           1. ฉันทะ พอใจในงาน สนใจใฝ่รู้
           2. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
           3. จิตตะ เอาใจใส่ไม่วางธุระ
           4. วิมังสา ใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล
 
เวสารัชชกรณธรรม (คุณธรรมให้เกิดความกล้าหาญ)
          1. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
          2. สีละ รักษากายวาจาให้เรียบร้อย
          3. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
          4. วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร
          5. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
 
 สังคหวัตถุธรรม (คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้อื่น)

          1. ทาน ให้ปันสิ่งของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้
          2. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
          3. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
          4. สมานัตตตา ความไม่ถือตัว

 
พรหมวิหารธรรม (ธรรมะเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ)
          1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข
          2. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
          3. มุทิตา ความพลอยยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น
          4. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
 
ทศพิธราชธรรม (ธรรมะสำหรับพระราชา ผู้ปกครอง และ ผู้นำ)
          1. ทาน การให้ทาน รวมทั้งอภัยทาน
          2. สีละ ความประพฤติดีงาม
          3. ปริจจาคะ การบริจาค
          4. อาชวะ ความซื่อตรง
          5. มัทวะ ความอ่อนโยน
          6. ตปะ ความเพียร
          7. อักโกธะ ความไม่โกรธ
          8. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน
          9. ขันติ ความอดทน
        10. อวิโรธนะ ความเที่ยงธรรม

      (ข้อมูลจากพระไตรปิฎก)