มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
|
การประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 7 มีนาคม 2549 ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 1 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
|
เรื่องที่ 24
แต่งตั้ง
การปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
ของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงาน
การฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.)
|
คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาแรงงาน และประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ(กพร.ปช.) ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอโดยมีอำนาจหน้าที่คงเดิม ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการฯใหม่ดังนี้
|
นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็น ประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นรองประธานกรรมการซึ่งมี กรรมการ ประกอบ ด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวง แรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อธิบดีกรมการจัดหางาน นายกสมาคม การจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประธานสภาสังคม สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภา องค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ประธานสภาองค์การ นายจ้างแห่งประเทศไทย ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย
ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทยประธานสภาอุตสาห-
กรรมแห่งประเทศไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธาน
กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธาน
สมาคมธนาคารไทย นายจำเนียร จวงตระกูล นายชุมพล พรประภา นางอัมพร
จุณณานนท์ โดยมีอธิบดีกรมพัฒนา ฝีมือแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้อำนวยการกองแผนงานและสารสนเทศ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
อำนาจหน้าที่ |
1. กำหนดนโยบายหลักและทิศทางในการพัฒนาแรงงานและประสานงาน การฝึกอาชีพของผู้อยู่ในกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
|
2. ประสานแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างระบบการศึกษาและ การพัฒนากำลังแรงงาน ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องตามทิศทางนโยบายแห่งรัฐ
|
3. ประสานนโยบายและแผนการฝึกอาชีพของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนและความสิ้นเปลือง
|
4.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาครัฐบาลและภาคเอกชน
ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
|
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนของหน่วยงานต่าง ๆ
|
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามที่
ี่เห็นสมควร
|
มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
|
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 21 มีนาคม 2549 ได้พิจารณาเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 2 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
|
เรื่องที่ 1
ร่างพระราชกฤษฎีกาโอน
โรงพยาบาลชลประทาน กระทรวงสาธารณสุข
ไปเป็นโรงพยาบาลชลประทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
.
|
คณะรัฐมนตรีพิจารณา ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนโรงพยาบาลชลประทาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นโรงพยาบาล ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติดังนี้
|
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาโอนโรงพยาบาลชลประทานสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นโรงพยาบาลชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
.
|
2. ขอยกเว้นกรณีการโอนโรงพยาบาลชลประทาน สังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นโรงพยาบาลชลประทานสังกัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ ไม่อยู่ในข่ายต้องดำเนินการ ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) และ มติคณะรัฐมนตรี (1 มิถุนายน 2542) โดยอนุมัติให้เปลี่ยนประเภทตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในโรงพยาบาลชลประทานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ที่โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และให้ส่งร่าง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้
|
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า |
1.ได้จัดทำโครงการผลิตและพัฒนาศักยภาพแพทย์และ บุคลากรของกระทรวง สาธารณสุขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาสุขภาพ ของ ประชาชน ด้วยการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพและ มาตรฐาน และเห็นว่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีความสามารถในการผลิต แพทย์เพิ่มและสามารถดำเนินการให้โรงพยาบาลชลประทาน เป็นสถานที่จัดการ เรียนการสอนในชั้นคลินิกของนิสิตแพทย์ได้ จึงมีนโยบายที่จะโอนโรงพยาบาล ชลประทานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารสุข ไปเป็น โรงพยาบาลชลประทาน สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ
โดยมีข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้
|
1.1 กระทรวงสาธารณสุขตกลงโอนบรรดากิจการ อำนาจ หน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลัง ของโรงพยาบาลชลประทาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นโรงพยาบาล ในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ
|
1.2 ให้บุคลากรของโรงพยาบาลชลประทานทั้งข้าราชการและลูกจ้างโอนไป
เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณี ในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กระทรวงศึกษาธิการ โดยความสมัครใจ
|
1.3 บุคลากรของโรงพยาบาลชลประทาน เมื่อไปเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างใน สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และค่าตอบแทนต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม
|
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึก ข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวง ศึกษาธิการ เรื่องการโอนโรงพยาบาลชลประทาน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549
|
3. บุคลากรของโรงพยาบาลชลประทานได้แสดงความจำนงโอนไปสังกัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 มีจำนวน 795 คนทั้งนี้ บุคลากรที่ไม่ประสงค์จะโอนไปมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระหว่างดำเนินการย้ายหรือโอนบุคลากรดังกล่าว
ไปตามหน่วยงาน หรือหน่วยงานใกล้เคียงที่บุคลากรได้แจ้งความประสงค์ไว้ เพื่อ
ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน
|
4. ภารกิจต่าง ๆ ของโรงพยาบาลชลประทานรวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชน เมื่อโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการแล้ว ทาง มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒจะรับผิดชอบภารกิจต่าง ๆ ต่อไปโดยไม่ให้มีผล กระทบต่อการให้บริการ ประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของโรงพยาบาล ชลประทาน
|
5. ปัจจุบันตำแหน่งข้าราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นตำแหน่ง
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นข้าราชการต่างประเภทกับ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่อยู่ในการ ดูแลของ ก.พ. ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยของรัฐจ้างลูกจ้าง ในลักษณะการจ้างพิเศษที่มีวาระการจ้าง ที่กำหนดเวลาชัดเจนแทนการบรรจุ
ข้าราชการใหม่ ประกอบกับมติคณะกรรมการ กำหนด เป้าหมายและนโยบายกำลัง คนภาครัฐ(คปร.) กำหนดให้ยุบเลิกอัตราข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา ที่เกษียณอายุ หรือโอนย้าย จึงมีผลทำให้มหาวิทยาลัยไม่อาจรับโอนข้าราชการ ต่างประเภทได้ ตามแผนการปรับเปลี่ยนและเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ของรัฐ โดยร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
|
1. โอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตำแหน่ง และอัตรากำลังของโรงพยาบาลชลประทานสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขไปเป็นโรงพยาบาลชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ
|
2. ขออนุมัติให้เปลี่ยนประเภทตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในรพ.
ชลประทาน สังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขที่โอน
ไปสังกัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นข้าราชการ
พลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษา
|
เรื่องที่ 2
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาตินเรนทร
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.
และขออนุมัติแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของ
ประเทศไทยเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี
|
คณะรัฐมนตรีพิจารณา ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาตินเรนทร (องค์การมหาชน) พ.ศ.
. และขออนุมัติแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติดังนี้
|
1. เห็นชอบหลักการในการจัดตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาตินเรนทร
(องค์การ มหาชน) โดยให้ สำนักงาน ก.พ.ร. รับร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาตินเรนทร (องค์การมหาชน) พ.ศ..... ไปพิจารณาร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เหมาะสมรอบคอบชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป
|
2. สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เนื่องจากเป็นเรื่องนโยบายที่มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จึงให้กระทรวง สาธารณสุขนำเสนอ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาต่อไป
|
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า |
1. ปัจจุบันโครงสร้างการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศยังมีลักษณะเป็น โครงสร้างชั่วคราว ดำเนินงานโดยสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ศูนย์น-
เรนทร) ซึ่งมีเพียงบุคลากรที่ขอตัวมาช่วยราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ปฏิบัติงาน อยู่เท่านั้น นอกจากนี้ยังอยู่ในระบบราชการทำให้มีปัญหาความ คล่องตัวและ ประสิทธิภาพในการจัดการด้วย |
2. แหล่งเงินเพื่อจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศนั้นมาจากกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นแหล่งงบประมาณหลักสำหรับการอุดหนุน การบริการ ในขณะที่จากสถิติการให้บริการที่ผ่านมานั้น ผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ไม่ได้มีเพียงเฉพาะผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น
(บัตรทอง 30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค)แต่ยังมีมาจากผู้มีสิทธิกลุ่มอื่น เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ประกันสังคมประกันผู้ประสบภัยจากรถ ประกันภัยเอกชน รวมทั้งชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบอาชีพและท่องเที่ยว การใช้งบประมาณ ที่ได้จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพียงแหล่ง เดียวเพื่อจ่ายค่า บริการดังกล่าว เมื่อผู้มีสิทธิอื่นดังกล่าวมาใช้บริการ จึงเป็นการเบียดเบียนผู้มีสิทธิ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
|
3. เนื่องจากการบริหารจัดการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและผู้ให้บริการยังมีจำนวน ไม่เพียงพอ จึงสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ได้เพียงส่วนน้อยของประเทศไม่ สามารถให้บริการแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่จำเป็นได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถใช้งบประมาณ ที่ได้รับจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อุดหนุน ค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ตามที่วางแผนไว้ อย่างไรก็ตามหากมีการ สร้างและพัฒนาผู้ให้บริการให้ครอบคลุมทั่วถึงและมีจำนวนเพียงพอ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สำหรับบริการประชาชนในเขตชนบทห่างไกล ก็ทำให้มีความจำเป็นต้อง พัฒนาระบบ การเงินที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อเฉลี่ยทุกข์สุขจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ประกัน ผู้ประสบภัยจากรถ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุน ประกันสังคม เพื่อ สนับสนุนให้มีบริการการแพทย์ฉุกเฉินเกิดขึ้นอย่างเพียงพอ ต่อการให้บริการที่จำเป็น รวมทั้งระบบเงินสมทบเพื่อพัฒนาและสนับสนุนระบบ บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบโครงสร้างพื้นฐานและหน่วยบริการการแพทย์
ฉุกเฉินทุกระดับ
|
มติคณะรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
|
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2549 ได้พิจารณาเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 1 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
|
เรื่องที่ 7
การเตรียมการจัดทำงบประมาณและ
การปรับปฏิทินงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
|
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ การเตรียมการจัดทำงบประมาณและการปรับปฏิทิน งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามที่สำนักงบประมาณ เสนอ และให้แจ้งกระทรวง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทราบเพื่อสำหรับใช้เป็น แนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ต่อไป
|
ทั้งนี้ โดยมี แนวทางการเตรียมความพร้อมและปรับปฏิทินงบประมาณ
รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ดังนี้ |
1. การเตรียมความพร้อมในเบื้องต้น เพื่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามระยะเวลาที่กำหนด จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องขอให้กระทรวงส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการเพื่อ
เตรียมความพร้อมในเบื้องต้น ดังนี้
|
1.1 พิจารณาทบทวนคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ที่ส่ง สำนักงบประมาณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อจัดทำข้อเสนองบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (เบื้องต้น) ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ ขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามข้อผูกพัน และรายจ่ายตามภารกิจพื้นฐาน เพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลเบื้องต้นประกอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำหรับรัฐบาลใหม่ต่อไป
|
1.2 การเตรียมการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจ
การบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
|
1.2.1 กระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อรับทราบประมาณการ รายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และประมาณการรายได้ล่วงหน้า 3 ปี
(เบื้องต้น) เพื่อเป็นข้อพิจารณาประกอบการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
|
1.2.2 หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนัก
งบประมาณ เตรียมการเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารราชการ
แผ่นดิน 4 ปี เพื่อให้กระทรวง ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจนำไปจัดทำแผนปฏิบัติิ
ราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
|
2. การกำหนดปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
เป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้เป็นไปตามระยะเวลา
ที่เหมาะสม รวมทั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปสาระ
และลำดับขั้นตอนที่สำคัญของปฏิทินงบประมาณ ได้ดังนี้
|
1. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2550 ในวันที่ 28 มีนาคม 2549
|
2. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2550 (เบื้องต้น) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามข้อผูกพัน และรายจ่ายตามภารกิจพื้นฐาน และส่งสำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 7 เมษายน 2549 |
3. สำนักงบประมาณร่วมกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ พิจารณาข้อเสนอ งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2550 (เบื้องต้น)ในวันที่ 8 - 25 เมษายน 2549
|
4. คณะรัฐมนตรีรับทราบการประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และประมาณการรายได้ล่วงหน้า 3 ปี (เบื้องต้น) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในวันที่ 18 เมษายน 2549
|
5. การเตรียมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม 2549
|
6. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ในวันที่ 6 มิถุนายน 2549
|
7. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติ ราชการประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี เสนอรัฐมนตรี เจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 6 - 13 มิถุนายน 2549
|
8. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ทบทวนประมาณการ รายได้และพิจารณากำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ในวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2549 สำนักงบประมาณ เสนอนโยบายวงเงินโครงสร้างงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ ต่อนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 10 - 13 มิถุนายน 2549 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ ความเห็นชอบ ในวันที่ 14 มิถุนายน 2549 และสำนักงบประมาณเวียนแจ้ง กระทรวง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทราบในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 |
9. รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและรัฐมนตรีมอบหมายนโยบายให้ กระทรวง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำเป้าหมาย/ยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ตามคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันที่ 15 - 16 มิถุนายน ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำรายละเอียดวงเงิน และคำ ของบประมาณ รายจ่ายประจำปีฯ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี และประมาณการรายได้ประจำปี เสนอกระทรวง รัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี พิจารณากลั่นกรองรายละเอียดคำของบประมาณฯภายในวันที่ 17 - 26 มิถุนายน 2549 และจัดส่งสำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2549
|
10. สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีในระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2549 |
11. คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่าย ประจำปีีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2549
|
12. สำนักงบประมาณดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และเอกสารงบประมาณในวันที่ 13 - 24 กรกฎาคม 2549 และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่อสภา
ผู้แทนราษฎรในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549
|
13. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 ควรเริ่มพิจารณาในวันที่ 9 - 10 สิงหาคม 2549 และวาระที่ 2 - 3 ควรเริ่มพิจารณาในวันที่ 27 - 28 กันยายน 2549 ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วเสร็จก่อนวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนด 105 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ไปถึงสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 สำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราช บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของวุฒิสภา เห็นควร พิจารณาในวันที่ 16 - 17 ตุลาคม 2549 และคาดว่าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะนำร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปใน วันที่ 24 ตุลาคม 2549
|
|
|